จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 187: การอดนอน (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-187

      

      นักวิจัยพบสวิตช์ตัวแม่ (Master switch) สำหรับการนอนหลับ ในสมอง ณ ศูนย์ควบคุมการนอนหลับ (Ventrolateral preoptic nucleus : VPN) อันเป็นกลุ่มเซลล์ในไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เมื่อเปิดสวิตช์ VPN ก็จะหลั่งสารสื่อประสาท (Neuro-transmitter) ที่ทำหน้าที่ส่งสารเคมีระหว่างสมองและระบบประสาท (Gamma-aminobutyric acid : GABA) โดยปิดอาณาบริเวณที่ทำให้สมองตื่นอยู่ และเมื่อปิดสวิตช์ VPN บางอาณาบริเวณของสมองจะกระตุ้นให้เราตื่นขึ้นจากการหลับ แม้นักวิจัยได้ค้นพบตำแหน่ง (Locate) ของสวิตช์ตัวแม่สำหรับการนอนหลับ แต่ก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่า อะไรทำให้มันเปิดและปิด?

      อาณาบริเวณหนึ่งของสมองที่ VPN ปิดสวิตช์ก่อรูปเป็นร่างแห (Reticular formation : RF) เพื่อให้สมองส่วนหน้า (Forebrain) ได้รับและประมวลข้อมูลจากประสาทความรู้สึก (Sense) ส่วนนี้จะต้องได้รับการกระตุ้น (Aroused) และเปลี่ยนแปลง (Altered) โดย RF อันเป็นแถว (Column) ของเซลล์ที่ยืด (Stretch) ความยาวของก้านสมอง (Brain stem), กระตุ้นให้สมองส่วนหน้าตื่นตัว, และเตรียมตัวรับข้อมูลจากประสาทความรู้สึกทั้งหมด RF มีความสำคัญในการทำให้สมองส่วนหน้าตื่นตัวและสร้างสภาวะการตื่นนอน (State of wakefulness) ถ้า RF ได้รับการกระตุ้น (Stimulated) ในคนที่หลับอยู่ เขาจะตื่นขึ้น

      แต่ถ้าส่วนนี้ถูกทำลายอย่างรุนแรง (Seriously damaged) มันจะถลำตัว (Lapse) เข้าไปสู่สภาวะไร้สติอย่างถาวร (Permanent unconsciousness หรือ Coma) สวิตช์ตัวแม่ และ RF เป็น 2 ปัจจัยที่ควบคุม (Regulate) การนอนหลับ ลำดับที่น่าจะเป็น (Probable sequence) สำหรับการเข้าสู่สภาวะนอนหลับ มีดังนี้

      1. เวลาของวันที่เราเข้านอน ถูกควบคุมโดยนาฬิกาจังหวะรอบ (Circadian clock) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศูนย์กลางซูปราไคแอสเมติค (Suprachiasmatic nucleus) ของไฮโปธาลามัส

      2. มีบางสิ่งบางอย่างที่เปิดสวิตช์ตัวแม่สำหรับการนอนหลับ ซึ่งมีตำแหน่ง ณ VPN ของไฮโปธาลามัส แล้ว VPN ก็ปิดอาณาบริเวณที่กระตุ้นสมอง อาทิ RF

      3. จำนวนสารเคมีและประสาทตัวนำส่ง ถูกผลิต (Manufactured) ในก้านสมอง (Pon) แล้วควบคุม เมื่อเราเข้าสู่ (In to) หรือออกจาก (Out of) การนอนหลับแบบ Non-REM และ REM (= Rapid eye movement หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตา) เมื่อเราตื่นอยู่

      4. นาฬิกาจังหวะรอบที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย จะผูกอยู่กับ (Tied with) การนอนหลับ เนื่องจากเราเข้านอนเมื่ออุณหภูมิตกต่ำ และตื่นนอนเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

      สรุปได้ว่า เหตุผลที่เราเข้านอนและตื่นอยู่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน (Complex interaction) ระหว่างนาฬิการจังหวะรอบ, อาณาบริเวณสมอง, สารเคมีที่โน้มน้าว (Induce), การนอนหลับ, และอุณหภูมิของร่างกาย

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. World sleep societyhttp://worldsleepsociety.org/about/bylaws/ [2018, November 10].