จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 181: โลกของการนอนหลับ (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-181

      

      การแสดงออกทางการฝันอย่างรุนแรง (Violent dream) โดยการวิ่งชน (Running) ชกต่อย (Fighting) หรือกระโดดโลดเต้น (Jumping) และทำร้ายตนเอง (Self-injury) เป็นพฤติกรรมผิดปรกติแบบ REM (= Rapid eye movement หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตา) ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้สูงวัย ตามปรกติ กล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ (Voluntary muscle) จะไม่กลายเป็นอัมพาต (Paralyzed) แต่ผู้นอนหลับสามารถแสดงออกผ่านการฝัน (Dream) ได้ พฤติกรรมที่ผิดปรกติมีสาเหตุมาจากระบบประสาทถูกทำลาย (Neurological damage) แต่ก็มีบางกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุ

      หนึ่งในจำนวนการค้นพบอัศจรรย์ (Break-through) ครั้งยิ่งใหญ่ ในการวิจัยเรื่องการนอนหลับ คือการค้นพบว่า 80 ถึง 90% ของเวลาที่ผู้เข้ารับการวิจัย (Subject) ตื่นขึ้นจากช่วงเวลา REM รายงานว่าได้เห็นการฝันที่แจ่มใส (Vivid), ซับซ้อน (Complex) และค่อนข้างยาวนาน (Relatively long) อาทิ กระรอก (Squirrel) จู่โจมบ้านสีชมพู ในขณะที่มีเพียง 10% ของผู้เข้ารับการวิจัย ตื่นจากการนอนหลับแบบ Non-REM ที่รายงานประเภทเดียวกันของการฝัน

      คำถามแรกๆ ของนักวิจัย ก็คือเกิดอะไรขึ้นเมื่อผู้คนที่ถูกลิดรอน (Deprived) การนอนหลับแบบ REM และการฝัน โดยถูกปลุกให้ตื่น เมื่อไรก็ตามที่นักวิจัยเห็นสัญญาณ (Sign) ที่แสดงว่า เขาเหล่านั้นกำลังจะเริ่มต้นช่วงเวลาของการนอนแบบ REM ปรากฏว่า ไม่มีผลกระทบทางพฤติกรรมหรือสรีรวิทยาอย่างมีนัยสำคัญเลย

      อย่างไรก็ตาม การยับยั้ง (Suppress) การนอนหลับแบบ REM ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่น่าพิศวง (Curious phenomenon) เรียกว่า การสะท้อนกลับของ REM ซึ่งหมายถึง ผู้คนใช้เวลาเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มในการนอนหลับแบบ REM ถ้าเขาถูกลิดรอนการนอนแบบ REM ในคืนก่อนหน้านั้น

      การเกิดขึ้น (Occurrence) ของการสะท้อนกลับของ REM แสดงถึงความจำเป็นของการนอนแบบ REM และความจำเป็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับความทรงจำ (Memory) การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ผู้เข้ารับการวิจัย (Subject) เรียนรู้ที่จะกดปุ่ม เมื่อสังเกตเห็นเป้าเคลื่อนไหว (Moving target) บนจอ (Screen)

      ผู้เข้ารับการวิจัยได้รับการทดสอบในวันเดียวกันกับการฝึกอบรม ซึ่งแสดงผลการปรับปรุงได้ไม่มาก อย่างไรก็ตาม เมื่อ เขาเหล่านั้นได้รับการทดสอบในวันถัดไป ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นอนหลับแบบ REM 8 ชั่วโมง จะแสดงผลการปรับตัวได้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นอนหลับเพียง 6 ชั่วโมง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. World sleep societyhttp://worldsleepsociety.org/about/bylaws/ [2018, September 29].