จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 178: โลกของการนอนหลับ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-178

      

      นอกจากการค้นพบว่า สารเมลาโทนิน (Melatonin) อาจเป็นเพียงยาหลอก (Placebo) แล้ว นักวิจัยยังได้ค้นพบตัวรับคลื่นสมอง (Brain receptor) สำหรับสารเมลาโทนิน ซึ่งช่วยอธิบายว่า สารตัวนี้ทำงานอย่างไร? แต่ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นภายในสมองและร่างกายของเราระหว่างช่วงที่นอนหลับอยู่?

      สิ่งแรกที่ต้องรู้เกี่ยวกับการนอนหลับก็คือ สมองของเราไม่เคยหลับสนิท (Totally sleep) แต่ตื่นตัว (Active) อยู่ตลอดคืน ในการติดตาม (Tracking) กิจกรรมของสมองระหว่างนอนหลับ นักวิจัยจะติดขดลวดขนาวจิ๋ว (Tiny wires) หรือขั้วไฟฟ้า (Electrode) กับหนังศีรษะ (Scalp) และร่างกาย แล้วบันทึกกิจกรรมทางไฟฟ้าของสมอง (Electric brain activity) เมื่อเราผ่านขั้นตอนของการนอนหลับ

      ขั้นตอนดังกล่าว แสดงการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด (Distinctive) ในกิจกรรมทางไฟฟ้าของสมอง และการสนองตอบทางสรีรวิทยา (Physiological response) ที่ติดมา (Accompany) ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อเราผ่านนานาขั้นตอน (Phases) ของการนอนหลับที่แตกต่างกัน

      คลื่นสมองแสดงออกเป็นรูปกราฟของความถี่ (Frequency) หรือความเร็ว-ช้า (Speed) กับความกว้างมาก-น้อย (Amplitude) ซึ่งมักบันทึกด้วยอุปกรณ์ที่ซับซ้อน (Complex) เรียกว่า EEG (= Electro-encephalogram) แต่ละขั้นตอนของการนอนหลับ จะรับรู้ (Recognizable) โดยรูปแบบที่เด่นชัดของ EEG

      ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนแรกของการนอนหลับ เราจะผ่านช่วงสั้น (Brief) ของสภาวะ (State) ของการผ่อนคลาย (Relaxed) และง่วงเหงาหาวนอน (Drowsy) ที่สังเกตได้ด้วยคลื่นอแอลฟา (Alpha) [พยัญชนะตัวที่ 1ของภาษากรีก] ขั้นตอนนี้ จะแสดงออก โดยที่เปลือกตาจะปิดลง คลื่นแอลฟา มีความกว้างน้อย และความถี่ที่สูง ประมาณ 8 – 12 รอบวงจร (Cycle) ต่อวินาที

      หลังจากการผ่อนคลายช่วงสั้น เราจะเข้าสู่ขั้นตอนแรกของจำนวนหลายขั้นตอนในการนอนหลับ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ Non-REM กับ REM (= Rapid eye movement หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตา)

      Non-REM คือการนอนหลับที่เราใช้เวลาประมาณ 80% ของเวลานอนหลับ โดย Non-REM ยังแบ่งย่อยออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ในแต่ละขั้นตอน แยกแยะด้วยรูปแบบเฉพาะ (Particular) ของคลื่นสมองและการสนองตอบทางสรีรวิทยา เริ่มต้นการนอนหลับด้วยขั้นตอนที่ 1 แล้วค่อยๆ (Gradually) ดำเนินต่อเนื่องไปยังขั้นตอนที่ 2, 3 และ 4 ซึ่งขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนที่เบาบางที่สุด (Lightest) ของการนอนหลับ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. World sleep societyhttp://worldsleepsociety.org/about/bylaws/ [2018, September 8].