จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 173: จิตไร้สำนึก (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-173

      

      ถ้าเราเคยเห็นลม (Fainted)¸ ได้รับการฉีดยาสลบ (General anesthesia) หรือถูกต่อยจนหมดสติ เรากำลังเผชิญกับจิตไร้สำนึก (Unconsciousness) ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากโรคภัยไข้เจ็บ การบาดเจ็บป่วยรุนแรง (Trauma) หรือการฉีดยาสลบ อันทำให้ปราศจากการรับรู้¬¬ทั้งหมดของประสาทความรู้สึก (Total sensory awareness) และการสูญเสียโดยสิ้นเชิงของการสนองตอบ (Responsiveness) ต่อสภาพแวดล้อม

      ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์ของนักมวย (Boxer) คือการล้ม (Knock out) คู่ต่อสู้ (Opponent) ด้วยการกระแทก (Blow) ศีรษะอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เกิด (Produce) สภาวะจิตไร้สำนึกชั่วขณะ (Temporary) อุบัติเหตุที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ก็อาจทำลายสมอง และเป็นสาเหตุของนานาระดับที่แตกต่างกันของจิตไร้สำนึก

      สถาวะดังกล่าว อาจก่อให้เกิดประเภทต่างๆ ของการสลบหมดสติ (Coma) ซึ่งในบางกรณี ผู้ป่วยดูเหมือน (Appear) จะนอนหลับอยู่ แต่ไม่มีการรับรู้ หรือสนองตอบใดๆ ทั้งสิ้น (Absolutely) เป็นสภาวะของ “มนุษย์ผัก” (Vegetative) และในบางราย สมองได้ตายไปแล้ว (Brain-dead) ซึ่งหมายความว่า จะไม่มีวันได้จิตสำนึก คืนกลับมา (Regain)

      เรารับรู้ว่า จิตสำนึกไม่ใช่เป็นของสิ่งเดียว แต่เป็นช่วงต่อเนื่อง (Continuum) ของสภาวะตั้งแต่จิตไร้สำนึกที่โหดร้ายของ “มนุษย์ผัก” ไปจนถึงกระบวนการควบคุม (Controlled) การตื่นตัวอย่างเต็มที่ (Keen alertness) ระหว่างการสอบไล่ครั้งสุดท้าย (Final examination)

      เรารับรู้ความรู้สึกของจิตสำนึก ความคิดอ่าน และสิ่งแวดล้อม (Surrounding) นักวิทยาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neuro-scientist) กำลังทำงานหนักเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากกว่า กล่าวคือ จะอธิบายอย่างไรในเรื่องปฏิกิริยา (Interaction) ของเซ็ลล์สมองที่เล็กจิ๋ว (Microscopic) ต่อการรับรู้และการส่งผลให้เกิดความคิดจิตสำนึก ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มักจะเรียกว่า (Label) ว่าเป็นเรื่องจิตใจ (Mind)

      ตามประวัติศาสตร์ (Historically) ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) มองจิตไร้สำนึกว่า เป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่แข็งแรง (Active) ซึ่งปกป้อง (Defend) ผู้คนจากความคิดคุกคามทางเพศและก้าวกร้าว (Sexual and aggressive) ซึ่งผู้คนมิได้รับรู้ ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์ประสาทการรับรู้ (Cognitive) ใช้แนวความคิดของความทรงจำโดยปริยาย (Implicit or non-declarative memory) ในการอธิบายว่า เราอาจไม่รับรู้การหยั่งรู้ (Perceiving) สิ่งกระตุ้น (Stimulus) อาทิ คำพูด วัตถุ ใบหน้า และเหตุการณ์ทางอารมณ์ และแม้กระทั่งการเรียนรู้การสนองตอบแบบง่ายๆ (Simple response) แต่สิ่งที่ไม่รับรู้เหล่านี้ มีอิทธิพลต่อความคิด ความทรงจำ ความรู้สึก และพฤติกรรม

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Unconsciousnesshttps://en.wikipedia.org/wiki/Unconsciousness [2018, Aug 4].