จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 172: จิตไร้สำนึก (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-172

      

      ในขั้นตอนแรก (Initial stage) ของการนอนหลับ เรามักรับรู้ถึงสิ่งกระตุ้นทั้งหลาย (Stimuli) ในสภาพแวดล้อมของเรา แต่เมื่อเราเข้าสู่สภาวะหลับลึกสุด เราอาจพร่ำละเมอ (Sleep-talk) หรือเดินละเมอ (Sleep-walk) ในขณะที่เด็กๆ อาจประสบคืนที่โหดร้ายน่าสะพรึงกลัว (Frightening night terror) แต่ไม่รับรู้หรือจดจำไม่ได้ อนึ่ง เด็กเกิดใหม่ (Newborn) นอนหลับวันละ 17 ชั่วโมง และคนที่ตาบอดตั้งแต่เกิด มีความฝันผ่านการได้ยินและการสัมผัสเท่านั้น ไม่อาจมีความฝันผ่านการมองเห็น

      ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ปฏิรูป (Revolutionary) แนวความคิดเรื่องจิตไร้สำนึก (Unconscious) ตามทฤษฎีของเขา เมื่อเราเผชิญกับความต้องการที่คุกคาม (Threatening wish and desire) โดยเฉพาะเมื่อมันเกี่ยวข้องกับเพศ (Sexual) หรือความก้าวร้าว (Aggressive) เราจะปกป้องคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) โดยอัตโนมัติ ด้วยการใส่ความคิดที่คุกคามทางจิต (Psychological) เข้าไปในใจที่เราไม่ได้รับรู้ หรือ “จิตไร้สำนึก” (Unconsciousness)

      เราจะไม่สามารถระลึกได้อย่างเสรี (Voluntarily recall) ซึ่งความคิด ภาพ หรือความเชื่อในจิตไร้สำนึก ซิกมันด์ ฟรอยด์ เชื่อว่า เราจะเริ่มรับรู้ความคิดในเรื่องรู้จิตไร้สำนึก ผ่านกระบวนการของการปลดปล่อยความเกี่ยวข้อง (Free association) หรือ การแปรผลความฝัน (Dream interpretation) เท่านั้น

      เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง (Contrast) กับทฤษฎีจิตไร้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์ นักวิทยาศาสตร์ประสาทการรับรู้ (Cognitive neuro-scientist)) ได้พัฒนาแนวความคิดที่เรียกว่า “ความทรงจำโดยปริยาย” (Implicit or non-declarative memory) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการทางจิตและอารมณ์ที่เราไม่รับรู้ แต่มีอิทธิพลและทำให้เกิดความลำเอียง (Bias) ต่อความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม

      ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถอธิบายการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน (Complex motor) ของเท้าของเรา ที่ย่างก้าวลงบันได (Stairs) เพราะความทรงจำการเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกเก็บ (Stored) ไว้ในความทรงจำโดยปริยาย ซึ่งมีเนื้อหา (Content) ที่เราไม่ได้รับรู้และไม่สามารถระลึกได้อย่างเสรี

      ความทรงจำโดยปริยาย ทำให้ผู้คนไม่สามารถระลึกได้ และไม่รับรู้ว่า ทำไมเขาถึงกลัวนักกลัวหนาต่อแมงมุมตัวเล็กๆ, ตกหลุมรัก, หมดสติเมื่อเห็นเลือดไหล, หรือเรียนรู้ที่จะทำหน้า (Facial expression) เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ความทรงจำโดยปริยายตอกย้ำอิทธิพลหลากหลายประเภทของความทรงจำที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและอารมณ์ ซึ่งแตกต่างจากจิตไร้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่มุ่งเน้นเรื่องอิทธิพลของความทรงจำที่คุกคาม

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Unconsciousnesshttps://en.wikipedia.org/wiki/Unconsciousness [2018, Jul 29].