จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 171: จิตสำนึก (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-171

      

      

      เมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว ชาวอียิปต์สามารถต้มกลั่น (Brew) แอลกอฮอล์ [ที่ทำให้มึนเมา] จนถึงขั้นเกิดสภาวะจิตสำนึกเปลี่ยนแปลง (Altered state of consciousness) ได้ สภาวะนี้เป็นผลจากการใช้นานาหัตถการ (Procedure) ตั้งแต่การฝึกสมาธิ (Meditation) ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psycho-active drug) การสะกดจิต (Hypnosis) หรือการขัดขวางการนอนหลับ (Sleep deprivation) ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างการับรู้ที่แตกต่างจากจิตสำนึกตามปรกติ (Normal)

      ตัวอย่างเช่น การใช้โยคะฝึกสมาธิ เพื่อมุ่งเน้นพลังความคิดไปสู่จุดเดียว ปลดปล่อยจิตจากอุปสรรคจากภายนอก (External restraint) แล้วเข้าสู่สภาวะจิตสำนึกเปลี่ยนแปลง นักจิตวิทยาประสาท (Neuro-psychologist) ได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Series) ของการใช้ยาหลอนชนิดรุนแรง (Lysergic Acid Diethylamide : LSD) ทดลองกับตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายในสมัยนั้น ผลลัพธ์ก็คือ . . .

      นักจิตวิทยาประสาทผู้นั้น รายงานว่า ยาดังกล่าวก่อให้เกิดสภาวะจิตสำนึกเปลี่ยนปลงที่ผิดปรกติ แปลกประหลาด (Bizarre) และบางครั้งน่าสะพรึงกลัว (Frightening) ตัวอย่างเช่น เขาเล่าว่าได้ออกจากร่างของเขา มองเห็นจากเบื้องบน และเกรงกลัวว่า จะไม่สามารถกลับเข้าสู่ร่างเดิมได้อย่างปลอดภัย

      ลักษณะพิเศษที่สำคัญ (Chief characteristics) ของสภาวะจิตสำนึกเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเกิด (Produce) ด้วยวิธีไหน ก็คือเราหยั่งรู้ (Perceive) สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก หรือโลกรอบตัวเรา ในหนทางที่แตกต่างจากการหยั่งรู้ตามปรกติ แต่เป็นประสบการณ์ที่ประกอบ (Make-up) ขึ้นเป็นความต่อเนื่อง (Continuum) ของจิตสำนึก

      เราเข้าสู่สภาวะจิตสำนึกเปลี่ยนแปลงทุกๆ คืน เมื่อเรานอนหลับซึ่งมี 5 ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับระดับที่แตกต่างกันของการรับรู้ (Awareness) จิตสำนึก และการสนองตอบ (Responsiveness) รวมทั้งระดับที่แตกต่างกันของสิ่งเร้าทางสรีรวิทยา (Physiological arousal) สภาวะการนอนหลับลึกที่สุด อยู่ติดกับ (Border on) จิตสำนึก

      เนื่องจากการรับรู้ที่ลดลง 8 ชั่วโมงของการนอนหลับ อาจดูเหมือนเป็นสภาวะที่ต่อเนื่องกันตลอด อย่างไรก็ตาม การนอนประกอบด้วย สภาวะที่แตกต่างกันของสิ่งเร้าทางร่างกายและจิตสำนึก สถาวะหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนอนหลับก็คือการฝัน (Dreaming) ซึ่งเป็นสภาวะของจิตสำนึกที่โดดเด่น (Unique)

      ในขณะที่เรานอนหลับอยู่ เราจะพบเห็นภาพ (Image) หลากหลายที่น่าพิศวง (Astonishing) ผ่านสายตา (Visual) การได้ยิน (Auditory) และการสัมผัส (Tactile) ซึ่งมักจะเชื่อมโยงกัน (Connected) ในหนทางที่แปลกประหลาด

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Consciousnesshttps://en.wikipedia.org/wiki/Consciousness [2018, Jul 21].