จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 17 : ความสัมพันธ์ระยะยาว (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

คู่สมรสที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตแต่งงาน จะสามารถค้นหาหนทางที่จะแก้ปัญหาทั้ง 4 ข้อ กล่าวคือ การวิพากษ์วิจารณ์ (Criticism) การแก้ต่าง (Defensiveness) การเหยียดหยาม (Contempt) และการปิดกั้น (Stonewall) ตัวอย่างเช่น ทั้งคู่สามารถเรียนรู้ที่จะเผชิญกับอุปสรรคปิดกั้น โดยหาทางออกความขัดแย้งด้วย

  1. วิธีการเปิดใจพูดตรงไปตรงมา
  2. ไม่พยายามแก้ต่าง ในเรื่องเสียงสะท้อน (Feedback) ที่ได้รับในเชิงลบ
  3. ลดการวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันลง และพยายามสนับสนุนซึ่งกันและกัน และ
  4. ตกลงที่จะมองข้ามปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอีกฝ่ายหนึ่งได้ (อาทิ ฝ่ายหนึ่งไร้ระเบียบ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเจ้าระเบียบ)

นักวิจัยพบว่า “การตกหลุมรัก” (Falling in love) เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องทำงานร่วมกันจึงจะประสบความสำเร็จที่ยั่งยืน ทุกคู่สมรสทราบดีว่า ชีวิตครองเรือนมีทั้งขึ้นและลง ผลการวิจัยแสดงว่า จุดต่ำสุดอยู่ที่เมื่อลูกวัยรุ่นเรียนรู้ที่จะเป็นตัวของตัวเอง (Independent) และมีความเห็นขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ของพ่อแม่ แต่จุดสูงสุดก็อยู่ที่เมื่อลูกออกจากบ้านแยกไปอยู่ต่างหาก ความสุขสงบจะกลับคืนมาใหม่ แล้วคู่สมรสก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขอีกครั้ง

นักวิจัยต้องการพยากรณ์ว่า คู่สมรสไหนจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ในความสัมพันธ์ระยะยาว? โดยเฉพาะข้อมูลที่ว่า 40 ถึง 60% ของชีวิตสมรสประสบความล้มเหลว เป็นสิ่งที่ท้าทายคำถามว่า แล้วนักวิจัยจะต้องออกแบบโปรแกรมการวิจัยอย่างไร จึงจะสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้

อันที่จริง การวิจัยทุกครั้ง มีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ กล่าวคือ สาธยาย (Describe) อธิบาย (Explain) พยากรณ์ (Predict) และควบคุม (Control) พฤติกรรม โดยที่ จุดหมาย 2 ประการแรก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ง่าย แต่ 2 ประการหลัง เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากพฤติกรรมหลายอย่างของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ซับซ้อนเกินที่จะอธิบายได้อย่างสมบูรณ์

ดังนั้น นักวิจัย จึงไม่อาจพยากรณ์หรือควบคุมได้เลย แม้ว่าจะมีนักวิจัยบางคนที่โอ้อวดความแม่นยำในการพยากรณ์ ในอดีตนักวิจัยเคยใช้วิธีการรายงานผลด้วยตัวเอง (Self-report) หรือแบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อศึกษาความสำเร็จของล้มเหลวของความสัมพันธ์ระยะยาว

อย่างไรก็ตาม เครื่องทั้ง 2 ชนิด ก็ไม่อาจเชื่อถือได้ทั้งหมด เนื่องจากคู่สมรสอาจมีความลำเอียง (Bias) ในการให้คำตอบ ทั้งๆ ที่รู้ (เพราะความละอายใจ [Embarrassment]) หรือไม่รู้ (เพราะมัวแต่แก้ต่าง [Defensiveness]) แต่นักวิจัยก็ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง (Break-through) ในการศึกษาและพยากรณ์ความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านการพัฒนาวิธีวิจัย (Research method) แบบใหม่

วิธีดังกล่าวเรียกว่า “ห้องปฏิบัติการแห่งความรัก” (Love laboratory) ซึ่งคู่สมรสนั่งหันหน้าเข้าหากัน อยู่หน้ากล้องวีดิทัศน์ แล้วพูดคุยกันเป็นเวลา 15 นาที ในหัวข้อที่เป็นความปวดร้าว (Sore) [ทางใจ] โดยกล้องบันทึกภาพสีหน้าและส่วนการบันทึกการสนองตอบทางสรีระ (Physiological response) ผ่านข้อมือ (Wrist band) ข้อนิ้ว (Finger band) วัสดุสีขาว

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Love - http://en.wikipedia.org/wiki/Love [2015, August 8].