จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 169: จิตสำนึก (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-169

      

      

      นักวิจัยค้นพบ (Discover) ว่า ความยาวของวันหนึ่งที่ต้องการมากกว่า (Preferred) มิใช่ 24 ชั่วโมง และในช่วงเวลาของการนอนหลับ ดวงตาของ สเตฟาเนีย (Stefania) เคลื่อนไหวไปมา (Move back and forth) เสมือนหนึ่งว่า เธอกำลังเฝ้าดูกีฬาปิงปอง ซึ่งตอกย้ำ (Emphasize) ความจริงที่ว่า การค้นพบครั้งสำคัญในทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นโดยบังเอิญ (By accident)

      ในช่วงต้นๆ ของการวิจัย นักจิตวิทยาเฝ้าสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงในการนอนหลับของผู้เข้ารับการวิจัย (Subject) และสังเกตเห็นว่า ในบางขั้นตอนของการนอนหลับนั้น ดวงตาของผู้คนจะเริ่มต้นเคลื่อนไหวกลับไปกลับมาทันทีและรวดเร็ว และถ้าในช่วงนั้น เขาถูกปลุกให้ตื่นกะทันหัน เขามักจะรายงานว่า กำลังฝันอยู่

      สหสัมพันธ์ (Correlation) นี้ ทำให้นักวิจัยมีวิธีการที่เชื่อถือได้ในการค้นหา (Identify) และศึกษาการฝันในห้องปฏิบัติการ (Laboratory dreaming) ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า นักวิจัยศึกษาการตื่น การนอน และการฝัน ในบริบท (Setting) ที่แตกต่างกัน รวมทั้งสภาพแวดล้อมของถ้ำใต้ดิน ห้องปฏิบัติการสำหรับการนอน และการค้นพบโดยบังเอิญ (By chance)

      ปรากฏการณ์เหล่านี้นำมาซึ่งคำถามมากมาย ช่วงเวลาใน 1 วัน ควรยาวนานแค่ไหน? เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อควรจะนอนหลับ หรือตื่นนอน? เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายและสมองของเราขณะนอนหลับอยู่? คนเราจำเป็นต้องนอนหลับมากน้อยแค่ไหน? ทำไมเราต้องนอน? ปัญหาร่วมของการนอนหลับคืออะไร? การเยียวยารักษา (Treatment) ต้องทำอย่างไร? และคำถามยอดนิยมก็คือ “ความหมายของการฝันคืออะไร?” คำถามเหล่านี้ สอดคล้อง (Fit) กับขอบเขตที่กว้างขึ้นของปรากฏการณ์ (Broader phenomenon) ที่เราเรียกว่า “การรับรู้” (Awareness) หรือ “จิตสำนึก” (Consciousness)

      ลักษณะ (Feature) หนึ่งของจิตสำนึกที่น่าฉงน (Curious) และน่าทึ่ง (Amazing) ก็คือ ณ บางจุดของเวลา ผู้คนสังเกตตนเอง คำถามก็คือ แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่า ณ เวลานี้ เรามีจิตสำนึกหรือไม่? อันที่จริง จิตสำนึก หมายถึงนานาระดับของการรับรู้ หรือความคิดและความรู้สึกของคนเรา ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างภาพ (Image) ในจิต ตามกระบวนการคิด (Thought process) หรือมีประสบการณ์ทางอารมณ์ (Emotional experience) ที่ไม่ซ้ำแบบใคร (Unique)

      หนทางหนึ่งที่เรารู้ว่ามีจิตสำนึกอยู่ก็คือ เรารับรู้ความคิดของเราเองว่า มีอยู่จริง (Existence) เรามักคิดว่าเวลาตื่น เรามีจิตสำนึก และเวลานอนหลับ เราไม่มีจิตสำนึก (Unconscious) แต่ที่จริงแล้ว จิตสำนึกมีความต่อเนื่องเป็นช่วง (Continuum) ของประสบการณ์ ตั้งแต่การรับรู้อย่างแม่นยำ (Accurate) ไปจนถึงการตื่นตัวต่อการไม่รับรู้ทั้งหมด (Totally unaware) และตอบสนองไม่ได้ (Unresponsive)

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Consciousnesshttps://en.wikipedia.org/wiki/Consciousness [2018, Jul 7].