จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 168: จิตสำนึก (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-168

      

      

      มีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่กล่าวว่า “เรากำลังหาผู้เข้ารับการวิจัยที่อนทน (Hardy) ซึ่งต้องอยู่ตามลำพัง ในถ้ำใต้ดิน (Underground cave) เป็นเวลา 4 เดือน เราจะจัดให้มีที่พัก อาหาร และเบี้ยเลี้ยงรายเดือน แต่จำเป็นต้องมีการวัดผลทางสรีระ (Physiological measurement) ทุกๆ วัน อันรวมถึงการวัดคลื่นสมอง และเก็บตัวอย่างเลือด”

      มีผู้ตอบโฆษณานี้ 20 คน แต่ทีมงานวิจัยเลือกสเตฟาเนีย (Stefania) เนื่องจากดูเหมือนว่า เธอจะมีความแข็งแกร่งจากภายใน (Internal strength) แรงจูงใจ และความทรหด (Stamina) เพื่อให้สมบูรณ์ ตลอด 4 เดือน ในวันที่คัดเลือก เธอคลาน (Crawl) ลงไปใต้พื้นดินลึก 30 ฟุต (ประมาณ 9.1 เมตร) พร้อมหนังสือเล่มโปรดหลายเล่ม เข้าไปอยู่ในห้องลูกแก้ว (Plexiglas module) ขนาด 20 x 12 ฟุต (ประมาณ 6.1 x 3.7 เมตร) ซึ่งปิดผนึก (Sealed off) จากแสงอาทิตย์ วิทยุ โทรทัศน์ และหนทางบอกเรื่องเวลา (Time Cue)

      ในช่วงเดือนแรกที่อยู่ใต้ดิน สมาธิ (Concentration) ของเธอดูเหมือนจะมี แล้วก็ไม่มี เธอดูเหมือนจะซึมเศร้า (Depressed) เธอ (Snap) ทีมงานนักวิจัย เมื่อเขาขอให้เธอรับการวัดผลทางสรีระเป็นกิจวัตร (Routine) เธอมีฝันแปลกๆ อาทิ จอเครื่องคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นจอโทรทัศน์ที่พูดกับเธอ

      แต่เมื่อผ่านไปหลายเดือน เธอเริ่มคุ้นเคยกับการอยู่อย่างโดดเดี่ยว (Isolation) ใต้ดิน เธอปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของการวัดอุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต โดยพิมพ์ผลลัพธ์เข้าไปในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่เชื่อมกับโลกภายนอก

      ในบริบทที่ปราศจากวิทยุ โทรทัศน์ และดวงอาทิตย์ เธอรู้สึกลำบากในการติดตามเรื่องเวลา ซึ่งดูเหมือนจะผ่านพ้นไปอย่างเชื่องช้า เมื่อได้รับการบอกกล่าวให้ขึ้นมาบนดิน เพราะได้ครบกำหนด 130 วันที่อยู่ใต้ดินแล้ว เธอรู้สึก (อย่างมั่นใจ) ว่า ได้อยู่ใต้ดินมาเพียง 60 วัน เธอได้ทำลายสถิติของผู้หญิงที่เคยมีผู้สร้างไว้ (สถิติของผู้ชายอยู่ที่ 210 วัน) ซึ่งเพียงพอที่จะให้ทีมงานวิจัยติดตาม (Monitor) พฤติกรรมการนอนและการตื่นอยู่ โดยไม่มีแสงและไม่มีหนทางบอกเรื่องเวลา

      การขอให้สเตฟาเนีย อาศัยอยู่ในถ้ำเป็นเวลาหลายเดือนมิใช่เป็นการแสดงความสามารถ (Publicity stunt) ให้สาธารณชนได้รับรู้ แต่เป็นหนทางตอบคำถามว่า วันหนึ่งนั้นยาวนานแค่ไหน? และได้นอนมากน้อยแค่ไหน เมื่อไม่มีหนทางบอกเรื่องเวลากลางวัน? ในการตอบคำถามเหล่านี้ นักวิจัยใช้วิธีการกรณีศึกษา (Case study approach) โดยศึกษาพฤติกรรมและการสนองตอบทางสรีระ (Physiological response) ในรายละเอียด และเชิงลึกอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Creating Power: the Power of Perception http://www.creatingpower.com/site/power_of_perception.html [2018, June 23].