จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 164: การสร้างการหยั่งรู้ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-164

      

      

      ประมาณ 20,000 ปีที่แล้ว ยุคแรกๆ ของมนุษย์โฮโมเซเปี้ยนส์ (Homo sapiens) มีการสร้างภาพโบราณที่สุด (Earliest image) โดยใช้เม็ดสีจากดิน (Earth pigment) เพื่อเขียนภาพการเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาของม้า (Prancing horses) ตามฝาผนังของถ้ำ แล้วเมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว ชาวอียิปต์ได้สร้างภาพที่น่าประทับใจที่สุด พร้อมกับปิรามิด (Pyramid) ที่มหึมา (Enormous) และคงอยู่ยาวนาน (Long lasting)

      ในปัจจุบัน นักวิจัยคอมพิวเตอร์ใช้วิธีการความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality: VR) ในการพัฒนาภาพ และการหยั่งรู้ (Perception) ให้ตัวเราตกตลึง (Mind-blowing) อยู่ในโลก 3 มิติ (3-dimensional world) จึงเป็นที่น่าสนใจว่า การหยั่งรู้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเครื่องมือ (Device) แบบเก่าที่ใช้ในป้ายโฆษณากลางแจ้ง (Billboard) ในโลกสมัยใหม่ได้อย่างไร?

      บิดาแห่งวงการแสงไฟกระพริบ (Flashing light) ที่ใช้อยูตามป้ายโฆษณากลางแจ้ง ปะรำ (Marquee) ภาพยนตร์ และลูกศรจราจร (Traffic arrow) คือนักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงโด่งดังชื่อ แมกซ์ เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheiher) โดยในต้นทศวรรษ 1900s เขาได้ใช้เวลามากในห้องที่ทำให้มืดลง (Darkened room) แล้วทดสอบไฟกระพริบดวงแรก

      จากนั้นเขาติดตั้งไฟดวงที่ 2 ในตำแหน่ง (Positioned) ให้ห่างออกไปจากดวงแรก เขาพบว่า หากเวลาระหว่างไฟดวงแรกและดวงที่ 2 ได้รับการปรับให้เหมาะสมแล้ว ไฟทั้ง 2 ดวง จะได้รับการหยั่งรู้ว่าเป็นจุดเคลื่อนไหว (Moving spot) แทนที่จะเป็นไฟ 2 ดวงที่แยกจากกัน (Separate) เวลากระพริบ

      เขาเรียกภาพมายา (Illusion) นี้ว่า “การเคลื่อนไหวของฟี” (Phi movement) [Phi คือพยัญชนะกรีกลำดับที่ 21] อันหมายถึงภาพลวงตาที่แสงซึ่งอยู่นิ่ง (Stationary) ให้ความรู้สึกว่ากำลังเคลื่อนไหว ภาพมายานี้ (ซึ่งทุกวันนี้เรียกว่า “การเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนจริง [Apparent motion]) ถูกสร้างขึ้นด้วยไฟกระพริบที่ติดตั้งในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกันของไฟนิ่ง ด้วยช่วยห่างสม่ำเสมอ (Regular interval)

      ทุกๆ ครั้งที่เราเดินผ่านลูกศรจราจร (ซึ่งประกอบด้วยแสงไฟกระพริบ หรือ หยั่งรู้การเคลื่อนไหว ของชุดไฟ (String of lights) ที่ใช้ในป้ายโฆษณา เราจะเห็นการประยุกต์ใช้การเคลื่อนไหวของ Phi ในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกๆ ว่า สิ่งเร้าทัศนา (Visual stimulus) ธรรมดาๆ อาจถูกปรับให้สร้างภาพมายา ได้อย่างไร?

      อีกตัวอย่างหนึ่งของการสร้างภาพมายาที่สุดวิเศษ (Wonderful) จากภาพนิ่งให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหว มาจากอัจฉริยภาพ(Genius) ของโทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ผู้ซึ่งประดิษฐ์ภาพยนตร์ (Motion pictures) ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1893

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Creating Power: the Power of Perception http://www.creatingpower.com/site/power_of_perception.html [2018, June 2].