จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 163: การหยั่งรู้นอกประสาทความรู้สึก (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-163

      

      

      หนึ่งในจำนวนการสาธิตเรื่องความสามารถของพลังจิต (Psychic ability) ที่นิยมกันแพร่หลาย คือการใช้ไพ่เซเน่อร์ (Zener) ซึ่งแสดงสัญลักษณ์ (Symbol) 5 อย่าง อันได้แก่ วงกลม (Circle) คลื่น (Wave) สี่เหลี่ยมจัตุรัส (Square) เครื่องหมายบวก (Plus sign) และดวงดาว (Star) นักวิจัยจะชูด้านหลังของไพ่ใบหนึ่ง แล้วถามผู้เข้ารับร่วมวิจัย (Subject) ว่า ไพ่ด้านหน้าคือสัญลักษณ์อะไร?

      ถ้ามีการทดสอบ 100 ครั้ง แล้วผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถตอบได้ถูกต้อง 20 ครั้ง ผ่านการเดาสุ่มในระดับบังเอิญ (Chance level) ถิอว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเขาตอบถูกต้อง 25 ครั้ง ซึ่งอยู่เหนือระดับบังเอิญ อาจเป็นเพราะผู้เข้าร่วมวิจัยมีความสามารถของพลังจิตจริงๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างง่ายๆ (Simplified ) ของคำถามเชิงซับซ้อน (Complicated) ตามสถิติ เราจะกำหนดอย่างไร ว่าบุคคลนั้นมีความสามารถทางพลังจิต หรือพียงเดาสุ่ม้ได้อย่างถูกต้อง?

      ดังนั้นในการแก้ปัญหาหลักของการวิจัยปรากฏการณ์ psi [ปรากฏการณ์ที่ยังพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้] ก็คือเราจะกำจัดโอกาสการเดาและเล่ห์กล (Trickery) ได้อย่างไร? นักวิจัยใช้วิธีการที่เรียกว่า “ขั้นตอนปฏิบัติแกนสเฟลด์” (Ganzfeld procedure) ซึ่งเป็นวิธีการอันทันสมัย (State-of-art) ในการาควบคุมเพื่อกำจัดโอกาสเล่ห์กล ข้อบกพร่อง (Error) และความลำเอียง (Bias) ในขณะทดสอบการสื่อสารโทรจิต (Telepathic communication) ระหว่างผู้ส่งข้อความกับผู้รับข้อความ

      ในขั้นตอนปฏิบัติดังกล่าว ผู้รับข้อความนั่งอยู่บนเก้าอี้ซึ่งเอียงลาดลง (Reclining) ในห้องแยกต่างหากที่เก็บเสียง (Acoustically isolated) แล้วมีลูกปิงปอง (Ping-pong ball) โปร่งแสง (Translucent) ที่ผ่าครึ่งยึดติดด้วยเทปเหนือดวงตาทั้งสองข้าง โดยที่มีหูฟัง (Head phone) คร่อมศีรษะเหนือหูทั้งสองข้าง เช่นกัน

      ส่วนผู้ส่งข้อความถูกแยกออก (Separate) ไปอยู่อีกห้องหนึ่งที่กันเสียง (Soundproof) เช่นกัน โดยจดจ่อ (Concentrate) อยู่ที่เป้าหมาย (Target) ประมาณ 30 นาที เป้าหมายดังกล่าวได้รับการสุ่มเลือก (Randomly selected) โดยสิ่งเร้าทางสายตา (Visual stimulus) อาทิ รูปถ่าย (Photo) หรือภาพศิลป์ (Art print)

      จากนั้น ผู้รับข้อความจะเห็นสิ่งเร้า 4 อย่าง แล้วถูกตั้งคำถามว่า สิ่งเร้าไหนใกล้เคียงกับสิ่งที่เขาได้จินตนาการ เนื่องจากมีสิ่งเร้า 4 อย่าง เขาจะเดาถูกประมาณ 25% ของจำนวนครั้งที่เดา แต่ถ้าเขาสามารถแยกแยะ (Identify) เป้าหมายได้ถูกต้อง มากกว่า 25% ของจำนวนครั้งที่เดา ซึ่งอยู่เหนือระดับบังเอิญ (Chance level) แสดงว่า มีบางสิ่งเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการหยั่งรู้นอกประสาทสัมผัส ก็ได้

      ขั้นตอนปฏิบัติแกนสเฟิลด์ แสดงถึง (Illustrate) สิ่งที่พึงระวังล่วงหน้า (Pre-caution) และวิธีการ (Methodology) ที่นักวิจัยต้องใช้ในการกำจัด (Rule out) โอกาส (Potential) ของเล่ห์กล ข้อบกพร่อง และความลำเอียง แต่คำถามที่อาจจะน่าสนใจมากที่สุดก็คือ แล้วนักวิจัยได้เรียนรู้อะไรจากการทดลองแกนสเฟลด์?

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Extrasensory perception https://en.wikipedia.org/wiki/Extrasensory_perception [2018, May 26].