จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 162: การหยั่งรู้นอกประสาทความรู้สึก (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-162

      

      

      คำให้การ (Testimonial) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อหรือประสบการณ์ส่วนบุคคล ดูเหมือนจะน่าเชื่อถือ แต่ก็มีโอกาสสูงที่จะผิดพลาดหรือลำเอียงได้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยได้ประเมินผลคำให้การในการทดลองที่ได้รับการออกแบบเชิงวิทาศาสตร์ (Scientifically-designed experiment)

      แล้วพบว่า 35 ถึง 98% ของผู้เข้าร่วมการทดลองที่ให้การเกี่ยวกับการเจ็บป่วยหรือหายป่วย หลังการกินยาเม็ด อาหารเสริม (Dietary supplement) หรือสมุนไพร (Herb) ที่ไม่รู้มาก่อนว่าเป็น “ยาหลอก” (Placebo) ซึ่งไม่มีประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์แต่อย่างใด แต่ผู้คนจำนวนมากเชื่อ และยินดีให้การว่า การรักษาได้ผล ทั้งๆ ที่เป็นยาหลอก

      นักวิทยาศาสตร์ต้องตรวจสอบประจักษ์หลักฐานจากคำให้การ โดยเฉพาะ ESP ซึ่งออกนอกลู่นอกทางประสาทสัมผัส ขัดแย้ง (Defy) กับคำอธิบายทางกายภาพและชีวภาพ และขยาย (Stretch) เกินกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ อีกเหตุผลหนึ่งที่นักวิจัยต้องการประจักษ์หลักฐานที่เชื่อถือได้และพิสูจน์ซ้ำได้ของการมีตัวตนของ ESP ก็คือ การสาธิตปรากฎการณ์ psi (ที่ยังอธิบายไม่ได้ด้วยวิทยาศาสตร์) มักเกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีเล่ห์กล (Trickery)

      ัวอย่างเช่น อย่างน้อยนักวิจัยคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้ใช้เล่ห์กลและมายากล (Magic) ในการสาธิตซ้ำ (Duplicate) ในเรื่อง“ การหยั่งรู้นอกประสาทความรู้สึก” (Extra-sensory perception: ESP) อาทิ การใช้จิตบังคับช้อนให้งอได้ (Bending) ซ่อมนาฬิกาข้อมือที่เสียให้ใช้การได้ เคลื่อนย้ายวัตถุ [โดยไม่มีการสัมผัส] และอ่านข้อความในจดหมายที่ปิดผนึก (Sealed)

      ประวัติศาสตร์ของการวิจัยพลังจิต (Psychic research) เต็มไปด้วยการถกเถียงที่ยังไม่สิ้นสุด (Controversy) มีทั้งการผ่านการทดสอบ ESP ตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นเวลา 120 ชั่วโมง จนนักวิจัยห้องปฏิบัติการ (Laboratory research) ผู้ซึ่งได้ควบคุม (Supervise) การสาธิต ESP สรุป ผลว่าผู้เข้ารับการทดสอบ 2 คน มีพลังจิตจริง (Genuine)

      แต่การตรวจสอบในภายหลังพบว่า นักวิจัยห้องปฏิบัติการไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการป้องกันเล่ห์กล จึงถูกหลอกลวง (Fooled) ให้หลงเชื่อว่า ได้เป็นสักขีพยาน ESP อย่างแท้จริง แม้ในรายการแสดงออกทางโทรทัศน์ที่เสนอให้เงินรางวัล แก่ผู้สามารถสาธิตให้เห็นว่ามีพลังจิตคนละ $100,000 (ประมาณ 3 ล้านกว่าบาท)

      ในรายการดังกล่าวมีผู้อ้างว่า ตนเองมีพลังจิตถึง 12 คนซึ่งสามารถแยกแยะ (ผ่านการสัมภาษณ์) ถึงจักรราศี (Astrological sign) ของผู้ร่วมรายการที่ยืนอยู่หลังฉากแต่ละคน ผลปรากฏว่า ไม่มีใครผ่านการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่ควบคุมนานาเงื่อนไข (Controlled conditions) โดยกำจัดโอกาสเกิดเล่ห์กล มายากล และการเดาอย่างสมเหตุผล (Educated guessing)

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Extrasensory perception https://en.wikipedia.org/wiki/Extrasensory_perception [2018, May 12].