จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 161: การหยั่งรู้นอกประสาทความรู้สึก (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-161

      

      “กลุ่มการหยั่งรู้” (Perceptual set) ของเราในเรื่องนักเพาะกาย (Body builder) ทำให้คาดหวังว่านักเพาะกายจะมีรูปร่างกำยำใหญ่โต แต่เราจะรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อทราบว่า นักเพาะกายบางคนไม่สูงมากและมีน้ำหนักน้อย ตัวอย่างเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า เราไม่ค่อยจะหยั่งรู้โลกในรูปแบบของความเป็นจริง แต่การหยั่งรู้ของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือลำเอียง หรือถูกบิดพลิ้ว (Distorted) โดยประสบการณ์ อาทิ อิทธิพลทางวัฒนธรรม

      ไม่มีใครสงสัยในความสามารถของเราที่จะได้รับข้อมูลผ่านประสาทความรู้สึกหลัก (Major senses) อันได้แก่ รูป (Seeing) รส (Tasting) กลิ่น (Smelling) เสียง (Hearing) และสัมผัส (Touching) เนื่องจากความสามารถเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่า (Repeated demonstrated) และวัดผลได้อย่างน่าเชื่อถือได้ (Reliably measured)

      นักจิตวิทยาวิจัย (Research psychologist) ส่วนมาก ไม่เชื่อว่า เราไม่สามารถรับข้อมูลนอกช่องทางประสาทความรู้สึกปรกติ ซึ่งเรียกว่า “การหยั่งรู้นอกประสาทความรู้สึก” (Extra-sensory perception: ESP) เนื่องจากปรากฏการณ์นี้ มิได้แสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าหรือไม่สามารถวัดผลได้อย่างน่าเชื่อถือ

      ESP เป็นกลุ่มของประสบการณ์ทางจิต (Psychic experience) ที่เกี่ยวข้องการกับหยั่งรู้หรือส่งข้อมูล และภาพ (Image) นอกประสาทความรู้สึก ESP ประกอบด้วยความสามารถทั่วไป 4 ประการ อันได้แก่ กระแสจิต (Telepathy) อนาคตวิสัย (Precognition) ญาณทิพย์ (Clairvoyance) และ ภาวะจิตพล่าน (Psychokinesis)

      กระแสจิต คือความสามารถในการโอนย้ายความคิดของคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง หรือความสามารถในการอ่านความคิดของผู้อื่น อนาคตวิสัย คือความสามารถในการบอกเหตุการณ์ในอนาคตได้ ญาณทิพย์ คือความสามารถในการหยั่งรู้เหตุการณ์หรือวัตถุที่อยู่นอกสายตา ส่วน ภาวะจิตพล่าน คือความสามารถที่จะใช้จิตครอบงำสสาร อาทิ การย้ายวัตถุ โดยไม่มีการสัมผัสมัน

      เมื่อรวมพลังจิตทั้งหมด (ESP) เข้าด้วยกัน เรียกว่า “ปรากฏการณ์ psi” [กล่าวคือ ปรากฏการณ์ที่ยังอธิบายไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์ ] ซึ่งเป็นการประมวลข้อมูลหรือการโอนย้ายพลังงาน โดยวิธีการที่ไม่ทราบกลไกทางกายภาพหรือชีวภาพ สิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นการยืดกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ ซึ่งผลการสำรวจความคิดเห็น พบว่า 49% ของชาวอเมริกัน เชื่อในเรื่อง ESP นี้

      ประมาณ 36% เชื่อในการสื่อสาร ระหว่างจิต (Mind) โดยปราศจากการใช้ประสาทสัมผัสธรรมดา อีก 26% เชื่อในจิตวิญญาณ (Psychics) และ 25 – 50% อ้าง (Claim) ว่า ได้มีประสบการณ์ ESP มาก่อน เหตุผลที่ชาวอเมริกันจำนวนมาก และนักจิตวิทยาวิจัยจำนวนน้อย เชื่อใน ESP ก็คือนักจิตวิทยาวิจัย ต้องการประจักษ์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นหนาเท่านั้น

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Extrasensory perception https://en.wikipedia.org/wiki/Extrasensory_perception [2018, May 12].