จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 160: อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อการหยั่งรู้ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-160

      

      โดยทั่วไป ชาวอเมริกันมีแนวโน้มที่จะวิเคราะห์วัตถุแต่ละชิ้นแยกออกจากกัน (Separately) เรียกว่า “การคิดเชิงวิเคราะห์” (Analytical thinking) ตัวอย่างเช่น ชาวอเมริกันเห็นป่า (Forest) แล้วมุ่งเน้นไปที่ต้นไม้ (Tree) ซึ่งแยกออกจากป่า แต่ชาวตะวันออก (ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี) มีแนวโน้มที่จะคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับฉากหลัง เรียกว่า “กาคิดโดยรวม” (Holistic thinking) ชาวตะวันออกเห็นป่าเหมือนชาวอเมริกัน แต่มองไปถึงต้นไม้รวมกันเป็นป่าขึ้นมาได้อย่างไร?

      นักวิจัยเสนอแนะว่า ความแตกต่างในการคิดและหยั่งรู้ (ระหว่างการคิดเชิงวิเคราะห์กับการคิดโดยรวม) อาจมาจากความแตกต่างในการปฏิบัติทางสังคม ศาสนา ภาษา และแม้กระทั่งภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ วัฒนธรรมยังมีอิทธิพลต่อวิธีการที่เรามองเห็นตัวการ์ตูน (Cartoon) อีกด้วย

      ในอดีต เมื่อสาวชาวพม่าอายุได้ประมาณ 5 ขวบ เธอจะใส่วงลวดทองเหลือง (Brass coil) ซึ่งมีความกว้างประมาณ 1/3 นิ้วไว้ที่รอบคอ เมื่อเธออายุมากขึ้น เธอก็จะเพิ่มจำนวนวงลวด จนมีถึง 19 – 25 วงลวดห่อ (Wrapped) รอบคอ คอที่ปรากฏ (Appear) จะยาวขึ้น เกิดจากการหยั่งรู้ (Perceived) ว่าเป็นสาวที่มีเสน่ห์ (Attractive)

      วัฒนธรรมนี้ค่อยๆ เสื่อมถอยลงในที่สุด เมื่อเวลาผ่านพ้นไป โดยที่สาวคอยาวมิได้รับการหยั่งรู้ว่ามีความงดงามอีกต่อไป แต่เป็นความโหดร้าย (Cruel) และอึดอัด (Uncomfortable) มากกว่า แต่เมื่อไม่นานมานี้ วัฒนธรรมนี้ได้รับการฟื้นฟู (Revived) เนื่องจากนักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปกันมาก โดยยินยอมจ่ายให้ถึง $12 (ประมาณ 400 – 500 บาท)

      จากประสบการณ์ทางวัฒนธรรมก่อนหน้านี้ ในเรื่องภาพลักษณ์ (Image) และวัตถุ (Object) เราพัฒนาความคาดหวัง (Expectation) บางอย่างเกี่ยวกับสิ่งของว่า ควรเป็นอย่างไร เรียกว่า “กลุ่มการหยั่งรู้” (Perceptual set) ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ส่วนตัว สังคม หรือวัฒนธรรม

      ความคาดหวังเหล่านี้เพิ่มพูนข้อมูล ความหมาย หรือความรู้สึกต่อการหยั่งรู้ของเราโดยอัตโนมัติ และสามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำให้การหยั่งรู้ของเราเกิดความลำเอียงได้ (Bias) ตัวอย่างเช่น เมื่อเรามองนักเพาะกาย (Body-builder) เราจะเพิ่มพูนความรู้สึกส่วนตัวโดยอัตโนมัติว่า ชอบหรือไม่ชอบ ชื่นชมหรือไม่ชื่นชม และความประทับใจ (Impression) ของลักษณะเฉพาะทางกายภาพ อาทิ ความสูง และน้ำหนัก

      “กลุ่มการหยั่งรู้” เป็นกลไก (Function) อัตโนมัติที่จะเพิ่มเติม (Fill in) ข้อมูล หรือเพิ่มพูนความรู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลง (Modify) การหยั่งรู้ของเราได้

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Culture’s Influence on Perceptionhttps://psychneuro.wordpress.com/2016/02/17/cultures-influence-on-perception [2018, May 5].