จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 159: อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อการหยั่งรู้ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-159

      

      หากเราไปตามเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกา เราจะพบย่านที่คนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ (Ethnic section) อาทิ กลุ่มคนจีน (Chinatown) และกลุ่มคนจากอิตาลี (Little Italy)

      หากเราไปต่างประเทศ เราจะเริ่มรับรู้ถึงความแตกต่างของอิทธิพลทางวัฒนธรรม (Cultural influence) ตัวอย่างเช่น สตรีญี่ปุ่นในชุดกิโมโน แสดงสัญลักษณ์ (Symbolize) อิทธิพลของวัฒนธรรมแต่ดั้งเดิม (Traditional) เมื่อเปรียบเทียบกับการแต่งกายของสมัยใหม่ของสตรีชาวอเมริกัน

      อิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็นแรงกดดันในการชักจูง (Persuasive pressure) ที่สนับสนุน (Encourage) ให้สมาชิกของสังคมเฉพาะ (Particular society) หรือกลุ่มชนหมู่น้อย ให้ปฏิบัติตาม (Conform) พฤติกรรม (Behavior) ค่านิยม (Value) และความเชื่อมั่น ที่ร่วมกันอยู่ (Shared)

      ไม่มีใครสงสัยในเรื่องอิทธิพลทางวัฒนธรรม อันมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตที่ผู้คนกิน แต่งกาย พูด และเข้าสังคมด้วย (Socialize) แต่จะมีแนวโน้มต่ำที่เราจะสังเกตเห็น ว่าอิทธิพลทางวัฒนธรรมมีผลกระทบต่อการหยั่งรู้ของเราในสรรพสิ่งรอบๆ ตัวเราอย่างไร? ตัวอย่างเช่น นักมานุษยวิทยา (Anthropologist) ได้ศึกษาพฤติกรรมตามธรรมชาติ ในนานาวัฒนธรรม ได้รายงานตัวอย่างที่น่าประหลาดใจ (Intrigue) ว่า ประสบการณ์ทางวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกระบวนการหยั่งรู้อย่างไร?

      ลองจ้องมองภาพปลาหลากหลายที่แหวกว่ายอยู่ใต้น้ำ (Underwater scene) สัก 2 – 3 วินาที แล้วหลับตาลง ถามตัวเองว่าเห็นอะไร? นักวิจัยพบว่าสิ่งที่เราเห็นหรือคิด ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของเราเองไม่น้อย ชาวอเมริกันมีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นการอธิบายโดยมุ่งเน้นไปที่ปลาตัวใหญ่ที่สุด อาทิ “ดูเหมือนจะเป็นปลาเทร้าต์ (Trout) ที่กำลังว่ายจากขวาไปซ้าย”

      ปลาใหญ่สุดอาจเป็นวัตถุที่สว่างสุด (Brightest) ในภาพ หรือ “ดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว” และคงจะ “ทำเงิน (Make money) ได้มากที่สุด” เมื่อเปรียบเทียบกับความคิดของชาวญี่ปุ่น จะพบว่า ชาวญี่ปุ่นที่เห็นภาพเดียวกัน จะมุ่งเน้น (Zero in) ฉากหลัง (Background) ก่อน อาทิ “มีทะเลสาบ (Lake) หรือสระน้ำ (Pond) แห่งหนึ่ง”, “ใต้ท้องทะเลเต็มไปด้วยก้อนหิน (Rock bottom)” หรือ “น้ำทะเลมีสีเขียว” (Green water)

      กว่า 70% ของผู้เข้าร่วมวิจัยชาวญี่ปุ่น พูดถึงฉากหลังก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับชาวอเมริกัน และเอ่ยถึงความสัมพันธ์ระหว่างปลากับฉากหลังเป็น 2 เท่าของชาวอเมริกัน ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะกล่าวว่า “ปลาตัวใหญ่ว่ายผ่านสาหร่ายทะเล (Seaweed) สีเทา”

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Culture’s Influence on Perceptionhttps://psychneuro.wordpress.com/2016/02/17/cultures-influence-on-perception [2018, April 28].