จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 157: การหยั่งรู้แบบซ่อนเร้น (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-157

      

      ในการตอบคำถามวิจัยที่ว่า ข้อความการรับรู้แบบซ่อนเร้น (Subliminal message) สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างได้หรือไม่? นักวิจัยได้ออกแบบทดลองอย่างดี (Well-designed experiment) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีที่ผู้เข้ารับการวิจัยไม่ทราบข้อมูลล่วงหน้า (Double-blind procedure) โดยให้ผู้เข้ารับการวิจัยฟังเทป 2 ม้วนที่มีชื่อว่า “เพิ่มคุณค่าในการประเมินตนเอง (Self-esteem) หรือ “ปรับปรุงความทรงจำ” (Memory) แล้วให้คะแนนการปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการวิจัย

      นักวิจัยต้องควบคุมผลกระทบของการใช้ยาหลอก (Placebo) อาทิ ผู้เข้ารับการวิจัยแสดงการปรับปรุงพฤติกรรม เนื่องจากเชื่อว่า ได้ยินข้อความอันทรงพลังของการรับรู้แบบซ่อนเร้น ดังนั้นผู้เข้ารับการวิจัยไม่ได้รับการบอกกล่าวว่า ข้อความไหนของการรับรู้แบบซ่อนเร้นอยู่ในเทปม้วนใด

      อันที่จริง เทปบางม้วนมีฉลากติดว่า “ปรับปรุงความทรงจำ” ได้บรรจุข้อความการรับรู้แบบซ่อนเร้น เพื่อการปรับปรุงความทรงจำไว้จริง แต่เทปม้วนอื่นบรรจุข้อความการรับรู้แบบซ่อนเร้นเพื่อการ “ปรับปรุงคุณค่าในการประเมินตนเอง” การใช้ระเบียบวิธีที่ผู้เข้ารับการวิจัยไม่ทราบข้อมูลล่วงหน้าว่า เทปข้อความการรับรู้แบบซ่อนเร้นนั้น แท้จริงแล้วตรงกับฉลากหรือไม่?

      ผลลัพธ์ก็คือประมาณ 50% ของผู้เข้ารับการวิจัย รายงานการปรับปรุงคุณค่าในการประเมินตนเองหรือการปรับปรุงความทรงจำ โดยที่ผู้เข้ารับการวิจัยรายงานการปรับปรุงพฤติกรรม บนพื้นฐานของสิ่งที่ปรากฏบนฉลาก มากกว่าข้อความปรับปรุงคุณค่าในการประเมินตนเองหรือปรับปรุงความทรงจำ ผ่านการรับรู้แบบซ่อนเร้น

      ดังนั้น ผู้เข้ารับการวิจัยซึ่งฟังเทปที่มีฉลากว่า “ปรับปรุงคุณค่าในการประเมินตนเอง” รายงานผลว่า ได้ปรับปรุงคุณค่าในการประเมินตนเองจริง แม้ว่าเทปดังกล่าวบรรจุข้อความการรับรู้ซ่อนเร้นเพื่อการปรับปรุงความทรงจำ ผลลัพธ์นี้แสดงถึงคำพยากรณ์ที่ว่า “คิดอย่างไร ก็ได้สิ่งนั้น” (Self-fulfilling prophecy)

      การ “คิดอย่างไร ก็ได้สิ่งนั้น” เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง แล้วลงมือปฏิบัติ โดยไม่รู้ตัว (Unknowingly) เพื่อให้ได้พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง

      นักวิจัยสรุปว่า ข้อความการรับรู้แบบซ่อนเร้น ในบรรดาเทปปรับปรุงตนเอง ที่ได้รับการออกแบบเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมนั้น แท้จริงแล้วไม่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมเลย แต่การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นว่า เทปดังกล่าวมีประสิทธิผลจริง อย่างไรก็ตามก็มีประจักษ์หลักฐานว่าสภาวะอารมณ์ (Emotional state) อาจมีอิทธิพลต่อการหยั่งรู้อแบบซ่อนเร้น (Subliminal perception) หรืออย่างไม่รู้ตัว

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. What Are Subliminal Perceptions in Marketing?http://smallbusiness.chron.com/subliminal-perceptions-marketing-71802.html [2018, April 14].