จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 155: ภาพมายา (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-155

      

      เมื่อเรามองออกนอกรถยนต์ไปสุดกู่ (Far-off) สมองของเราจะกะประมาณโดยอัตโนมัติ (Automatically estimate) ซึ่งระยะทางที่ไกลออกไป แล้วแปรผล (Interpret) หรือหยั่งรู้ (Perceive) ว่า รถยนต์มีขนาดใหญ่ (Full size) มิใช่รถยนต์ของเล่นเด็ก (Toy car) ที่มีขนาดเล็ก

      นักวิจัยพบว่า ผู้เข้ารับการวิจัย (Subject) กะประมาณว่า ดวงจันทร์ ณ ขอบฟ้า (Horizon) อยู่ไกลออกไป แล้วแปลผลว่า มันมีขนาดใหญ่กว่า ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง (Contrast) ผู้เข้ารับการวิจัยกะประมาณว่า ดวงจันทร์ที่ลอยสูงขึ้น (Elevated) บนท้องฟ้าอยู่ใกล้ตัวเรา จึงมีขนาดเล็กกกว่า

      นอกจากภาพมายาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ยังมีภาพมายาอื่นที่มนุษย์สร้างขึ้น หนึ่งในจำนวนนั้น มาจากการมองเข้าไปข้างในห้องของเอมส์ (Ames room) ซึ่งเป็นห้องที่สร้างขึ้นสำหรับสร้างภาพลวงตา คิดค้นโดยจักษุแพทย์ (Ophthalmologist) ชาวอเมริกัน ชื่อ อัลเบิร์ต เอมส์ ในปี ค.ศ. 1946

      การมองดูห้องนี้ด้วยตาดวงเดียวผ่านรูเข็ม (Pinhole) เพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณ (Cue) จากการมองด้วยตา 2 ดวง (Stereopsis) ห้องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อว่า เมื่อมองจากด้านหน้าจะดูเหมือนเป็นห้องทรงลูกบาศก์ (Cubic-shaped) ที่มีกำแพงอยู่ด้านหลัง และกำแพงด้านข้างขนานกัน (Parallel) และตั้งฉาก (Perpendicular) กับระดับพื้นและเพดานในแนวระนาบเดียวกัน (Horizontally)

      อย่างไรก็ตาม นี่เป็นอุบาย (Trick) ของภาพที่ได้สัดส่วน (Perspective) เพราะที่จริงแล้ว เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู (Trapezoid) โดยมีกำแพงลาดลง (Slanted) ส่วนพื้นและเพดานเอียงลง (Incline) โดยที่ด้านที่ลึกกว่า จะถูกสร้างให้มีขนาดใหญ่กว่า กล่าวคือมุมขวาอยู่ใกล้ตำแหน่งด้านหน้า (Front-positioned) ของผู้สังเกต (Observer) มากกว่ามุมซ้าย

      ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการสร้างห้องเอมส์ให้มีรูปทรงที่แปลกประหลาด (Peculiar) และเรามองจากรูเข็ม ณ ตำแหน่งที่กำหนดตายตัว (Fixed position) จึงคิดว่าเห็น 2 คน จากระยะทางที่เท่ากัน แต่ภาพมายา จะแสดงให้เห็นว่า คนหนึ่ง [ที่อยู่ใกล้] ดูเหมือนจะสูงใหญ่เป็น 2 เท่าของอีกคนหนึ่ง [ที่อยู่ไกลออกไป]

      ผลลัพธ์ที่ได้เป็นภาพมายาลวงตา (Optical illusion) โดยที่ผู้ยืนอยู่มุมหนึ่งของห้อง จะดูเหมือนยักษ์ (Giant) ในสายตาของผู้สังเกต ในขณะที่ผู้ที่ยืนอยู่อีกมุมหนึ่ง ดูเหมือนจะเป็นแคระ (Dwarf) ภาพมายาดูเหมือนภาพจริงมาก (Convincing) จนทำให้ผู้คนเดินไปมา (Back and forth) จากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้ดูตัวโตขึ้น หรือ (ในทางกลับกัน) เพื่อให้หดตัวลง (Shrink)

      งานวิจัยหลายชิ้นแสดงว่า ภาพมายาสามารถสร้างขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้กำแพงและเพดาน เราอาจสร้างขอบฟ้าเสมือน (Virtual) ซึ่งในโลกแห่งความจริงมิใช่ขอบฟ้า โดยมีฉากหลังที่เหมาะสม (Appropriate) และตาดวงเดียวที่อาศัยความสูงสัมพัทธ์ (Relative height) ของวัตถุที่อยู่เหนือขอบฟ้านั้น

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Illusion https://en.wikipedia.org/wiki/Illusion [2018, March 31].