จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 154: ภาพมายา (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-154

      

      มี 2 เหตุผลว่า ทำไมเวลาส่วนใหญ่ของการหยั่งรู้ (Perception) ในเรื่องรถยนต์ ผู้คน อาหาร ต้นไม้ สัตว์ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ เป็นภาพสะท้อน (Reflection) ที่ถูกต้องแม่นยำพอสมควร (Reasonably accurate) แต่เนื่องจากอิทธิพลของอารมณ์ แรงจูงใจ (Motivational) และวัฒนธรรม การหยั่งรู้ไม่เคยเป็น “สำเนา” 100% ของโลกแห่งความเป็นจริง (Reality)

      เหตุผลแรก เราได้รับมรดกตกทอด (Inherit) ระบบประสาทสัมผัส (Sensory) ที่คล้ายกัน ซึ่งข้อมูลจากระบบนี้ได้รับการประมวล (Process) และแปลผล (Interpreted) โดยอาณาบริเวณที่คล้ายกันของสมอง อย่างไรก็ตาม หากบริเวณดังกล่าวถูกทำลาย ก็จะส่งผลให้การหยั่งรู้บิดพลิ้วไป (Distorted) อาทิ กลุ่มอาการเพิกเฉย (Neglect syndrome) ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้คนมิได้หยั่งรู้ด้านหนึ่งของร่างกาย หรือด้านหนึ่งของสภาพแวดล้อม

      เหตุผลที่ 2 การหยั่งรู้ของเราถูกต้องแม่นยำพอสมควร เนื่องจากเราเรียนรู้จากประสบการณ์ร่วมกันเกี่ยวกับขนาด (Size) รูปทรง (Shape) และสีสัน (Color) ของวัตถุ เราเรียนรู้ก่อนหน้านี้ว่า การหยั่งรู้อาจอำเอียง (Biased) หรือถูกบิดพลิ้ว จากประสบการณ์ในอดีตของอารมณ์และการเรียนรู้ อาทิ การหยั่งรู้เกี่ยวกับสุนัข ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากถูกสุนัขกัด

      เราจะเรียนรู้เพิ่มเติมว่า การหยั่งรู้อาจถูกบิดพลิ้ว โดยสัญญาณหยั่งรู้ที่แท้จริง (Actual perceptional Cue) เนื่องจากการหยั่งรู้บางอย่างที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เรียกว่า “ภาพมายา” (Illusion) ซึ่งก็คือประสบการณ์การหยั่งรู้ ที่เราหยั่งรู้ภาพ (Image) อย่างบิดพลิ้วจนน่าประหลาดใจ ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่สามารถ และไม่อาจมีตัวตน (Exist) อยู่เลย

      ภาพมายาถูกสร้างขึ้นมาโดยการจัดแจง (Manipulate) สัญญาณหยั่งรู้ (Perceptual cue) เพื่อสมองของเราจะไม่สามารถแปลผล (Interpret) ได้อย่างถูกต้อง ในเรื่องงของเทศะ [สถานที่] (Space) ขนาด และความลึก อาทิ ภาพที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible figure) กล่าวคือการวาดภาพดังกล่าวดูเหมือนจะขัดแย้ง (Defy) กฎเกณฑ์พื้นฐานของเรขาคณิต (Geometry)

      อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ภาพมายาดวงจันทร์ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่า ยากที่จะอธิบายได้ แม้จะได้สร้างความฉงนสนเท่ห์ (Intrigue) ให้ผู้คนมานานหลายศตวรรษแล้ว ดูเหมือนว่า เมื่อดวงจันทร์เต็มดวงอยู่ใกล้ขอบฟ้า (Horizon) มันจะใหญ่กว่าเมื่อมันลอยอยู่เหนือฟ้าถึง 50% แม้ว่าภาพดวงจันทร์ที่ปรากฏอยู่ ณ จอตา (Retina) มีขนาดเท่าเดิมทุกประการ ในโลกแห่งความเป็นจริง

      เป็นเวลากว่า 60 ปีมาแล้ว ที่นักวิจัยได้เสนอคำอธิบายนานัปการ สำหรับภาพมายาของดวงจันทร์นี้ คำอธิบายล่าสุดตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ว่า สมองของคนเราสามารถกะประมาณโดยอัตโนมัติ (Automatically estimate) ว่า วัตถุอยู่ห่างไกลแค่ไหน แล้วแปรผลขนาดของมัน กล่าวคือตัวเรายิ่งห่างไกลจากวัตถุเท่าใด ขนาดของวัตถุก็ยิ่งใหญ่ขึ้นเท่านั้น

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Illusion https://en.wikipedia.org/wiki/Illusion [2018, March 24].