จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 152: การหยั่งรู้ความลึก (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-152

      

      ในภาพยนตร์ยอดนิยมเมื่อไม่นานมานี้ มีเรื่องหนึ่งชื่อ “มินเนียนส์” (Minions) หนึ่งในตัวละครเอกคือ “สจ๊วต” (Stuart) ผู้มีตาดวงเดียวกลางหน้าผาก (Forehead) แม้ว่าเขาจะขาดสัญญาณ (Cue) ของการหยั่งความลึก (Depth perception) ที่สัมพันธ์กับ ความแตกต่างของจอตา” (Retinal disparity) แต่เขาก็ได้รับสัญญาณที่สัมพันธ์กับการมีดวงตาเดียว (Monocular)

      นี่หมายความว่า สจ๊วต หรือใครก็ตามที่มีดวงตาเดียว สามารถนำเครื่องบินลงสู่พื้นดินได้ (Land an airplane) เนื่องจากการนำทางในเชิงลึก เกิดสัญญาณจากดวงตาเดียว ซึ่งมักเกิดจาก (Arise from) หนทางที่วัตถุได้รับการจัดแจง (Arranged) ในสภาพแวดล้อม อันมีด้วยกัน 7 ประเภท

      1. มิติเส้นตรง (Linear perspective) – ขณะขับรถ เมื่อเรามองไปข้างหน้าตามเส้นทางบนท้องถนน จะปรากฏเส้นขนาน (Parallel) ซึ่งก่อร่าง (Form) จากขอบถนนทั้ง 2 ข้าง ที่ดูเหมือนว่า ค่อยๆ วิ่งเข้าหากัน (Converge) ณ จุดที่ห่างไกล (Distant point) เป็นสัญญาณทางเดี่ยว (Monocular cue) ที่เรียกวา “มิติเส้นตรง” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มิติเส้นตรง เป็นการนำทางในเชิงลึกด้วยดวงตาข้างเดียว เมื่อเส้นขนานมาบรรจบกันในระยะทางไกล ทำให้เรารู้สึกว่า ถนนดำเนินไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Forever)

      2. มิติขนาดสัมพัทธ์ (Relative size) – เมื่อเราเห็นภาพถ่ายของนักกีฬาลู่ วิ่งเข้าเส้นชัย จะปรากฏว่า นักกีฬาที่อยู่ใกล้เส้นชัย ดูเหมือนจะใหญ่ ทำให้เราหยั่งรู้ (Perceive) ว่า เขาใกล้ถึงเส้นชัยแล้ว และคงเป็นผู้ชนะ ในขณะที่นักวิ่งอยู่ไกลออกไปจากเส้นชัย จะดูเล็กลง ทำให้เราหยั่งรู้ว่าว่า เขาอยู่ไกลจากเส้นชัย และคงเป็นผู้แพ้ ขนาดสัมพัทธ์ เป็นสัญญาณทางเดี่ยวของความลึกที่ปรากฏผล (Result) ให้เห็น เมื่อเราคาดหวังจากวัตถุ 2 ชิ้นที่มีขนาดเดียวกัน แต่ที่จริงแล้ว มันมิใช่ในกรณีเช่นนั้น วัตถุชิ้นที่ใหญ่กว่า จะปรากฏว่าอยู่ใกล้ และวัตถุชิ้นเล็กกว่าจะปรากฏอยู่ไกลออกไป (Farther away)

      3. มิติการสอดแทรก (Interposition) – เมื่อเราดูภาพฝูงปลา (School of fish) เราจะหยั่งรู้อย่างง่ายดายว่า ปลาตัวไหนนำหน้าอยู่ (ซึ่งดูเหมือนตัวใหญ่) และปลาตัวไหนรั้งท้ายอยู่ (ซึ่งดูเหมือนตัวเล็ก) แม้ว่าในความเป็นจริง ปลาทั้งฝูงมีขนาดไล่เลี่ยกัน เราสามารถแยกแยะ (Identify) ว่าปลาตัวไหนอยู่ใกล้และปลาตัวไหนอยู่ไกลออกไป โดยการใช้สัญญาณทางเดี่ยวของความลึกที่คาบเกี่ยวกัน (Overlap) เรียกว่า “การสอดแทรก” ซึ่งเป็นการหยั่งรู้ที่เข้ามามีบทบาท (Into play) จากการคาบเกี่ยวของวัตถุ 2 ชิ้น โดยที่ชิ้นหนึ่งดูเหมือนอยู่ใกล้ และอีกชิ้นหนึ่งที่คาบเกี่ยวดูเหมือนอยู่ไกลออกไป ซึ่งเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ไม่น้อย

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Depth perception. https://en.wikipedia.org/wiki/Depth_perception [2018, March 10].