จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 151: การหยั่งรู้ความลึก (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-151

      

      ในการเคลื่อนย้ายนิ้วมือเข้าใกล้จมูก กล้ามเนื้อที่หันเหดวงตาเข้าข้างใน (Inward) จะผลิต (Produce) สัญญาณ (Signal) ที่ตรงกับ (Corresponding) การกระจุก (Convergence) ยิ่งดวงตาหันเหเข้าในมากเท่าใด วัตถุก็จะดูเหมือนอยู่ใกล้เทศะ [สถานที่] (Space) เท่านั้น สัญญาณ (Cue) ของการหยั่งรู้ด้วยดวงตา 2 ข้าง (Binocular) มาจากดวงตาแต่ละข้างบนใบหน้า

      เหตุผลหนึ่งที่เป็นประโยชน์ (Advantage) ของดวงตาบนใบหน้า ก็คือตาแต่ละดวง มีโลกทัศน์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย (Slight) อันนำมาซึ่งสัญญาณการหยั่งรู้ความลึกที่เรียกว่า “ความแตกต่างของจอตา” (Retinal disparity) ซึ่งหมายถึงสัญญาณความลึกจากดวงตา 2 ข้าง ที่อาศัยระยะทาง (Distance) ระหว่างดวงตาทั้งสอง

      เนื่องจากตำแหน่งที่แตกต่างกัน ตาแต่ละดวงจะรับภาพ (Image) ที่แตกต่างกันเล็กน้อย อันเป็นที่มาของความแตกต่างของจอตา สมองก็จะแปลผล (Interpret) ความแตกต่างดังกล่าวว่า เมื่อภาพที่รับมีความแตกต่างมาก (Large) หมายถึงวัตถุนั้นอยู่ใกล้ (Near) และในทางกลับ เมื่อภาพที่รับมีความแตกต่างน้อย (Small) หมายถึงวัตถุนั้นอยู่ไกล (Far)

      ในโลกแห่งความเป็นจริง เราจะประสบความแตกต่างของจอตาไม่น้อยทีเดียว ตัวอย่างเช่น เมื่อมีแมลงวันมาเกาะที่สันจมูกของเรา ดวงตาข้างซ้ายจะเห็นภาพที่แตกต่างกันเล็กน้อยของแมลงวัน ในขณะที่ดวงตาข้างขวา ก็จะเห็นภาพที่แตกต่างกันเล็กน้อย เช่นกัน แต่สมองของเราจะรวบรวม (Combine) ความแตกต่างทั้ง 2 ภาพ เข้าด้วยกันจนเกิดการหยั่งรู้ความลึก

      ในโรงภาพยนตร์ ความแตกต่างเล็กน้อยของจอตาเกิดขึ้นเมื่อผู้ชม (Viewer) สวมแว่นตาพิเศษเพื่อชมภาพยนตร์ 3 มิติ ซึ่งมีความสูง ความกว้าง และความลึก แว่นมาตรฐาน 3 มิติประกอบด้วยเลนส์ (Lens) ที่แตกต่างกัน 2 สี กล่าวคือ เลนส์สีแดง และเลนส์สีเขียว สมองจะได้รับภาพของฉาก (Image of scene) ที่แตกต่างกันเล็กน้อยเหล่านี้

      ดวงตาข้างขวา จะมองเห็นฉากผ่านเลนส์สีแดง ส่วนดวงตาข้างซ้าย จะมองเห็นฉากเดียวกันผ่านเลนส์สีเขียว แล้วสมองจะรวมความแตกต่างเล็กน้อยทั้งภาพสีแดงและภาพสีเขียว เข้าด้วยกัน จนทำให้เราเกิดความรู้สึกของความลึก อาทิ มองเห็นสุนัขบ้ากระโดดออกจากจอภาพยนตร์ กระโจมใส่ตัวเรา

      สรุปแล้ว การหยั่งรู้ความลึก (Depth perception) คือความสามารถในการมองเห็น (Visual ability) โลกใน 3 มิติ และระยะทางของวัตถุ ซึ่งเกิดจากสัญญาณจากตา 2 ดวง (Binocular) ของคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับผู้ที่มีตาเพียงข้างเดียว (One-eyed) ก็สามารถหยั่งรู้ความลึกได้ เนื่องจากในโลกแห่งความเป็นจริง เราจะประสบพบสัญญาณหลากลายของตาข้างเดียว (Monocular) เช่นกัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Depth perception. https://en.wikipedia.org/wiki/Depth_perception [2018, March 3].