จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 150: การหยั่งรู้ความลึก (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-150

      

      ตามปรกติ ภาพยนตร์มักแสดงให้เห็นเพียง 2 มิติ (Dimension) คือ ความสูงกับความกว้าง แต่ผู้ที่เคยชมภาพยนตร์ 3 มิติ (โดยใส่แว่นพิเศษ เพื่อเห็น 3 มิติ กล่าวคือ ความสูง ความกว้าง และความลึก) ก็จะรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ (Thrill) กับการชมวัตถุหรือสัตว์ กระโดดออกจากจอ (Leap off the screen) จนคุต้องก้มหัวลง (Duck) หรือหลบศีรษะ

      หลายคนอาจไม่รู้ (Realize) ว่า ดวงตาของเราทำให้เรามองเห็นโลก 3 มิติ อย่างอิสระ โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องสวมแว่นตาพิเศษใดๆ และส่วนที่น่าทึ่ง (Amazing) ของการมองเห็น 3 มิติ ก็คือ ทุกอย่างที่ฉายภาพไปยังจอตา (Retina) ของเรา เป็นเพียง 2 มิติเท่านั้น กล่าวคือ ความสูงกับความกว้าง นั่นหมายความว่า ดวงตาและสมองของเรา สามารถเพิ่มมิติที่ 3 คือความลึก ด้วย

      การหยั่งรู้ความลึก (Depth perception) หมายถึงความสามารถของดวงตาและสมอง ที่จะเพิ่มมิติที่ 3 (กล่าวคือ ความลึก) ให้กับการหยั่งรู้ที่มองเห็น (Visual) ทั้งหมด แม้ว่า ภายที่ฉาย (Image) ไปยังจอตา จะอยู่ในรูปแบบของ 2 มิติ (กล่าวคือความสูงกับความกว้าง) เท่านั้น

      วัตถุบางอย่างที่มีเพียง 2 มิติ อาจถูกสร้างให้ดูเหมือน 3 มิติ กล่าวคือมีความลึก คงเป็นไปไม่ได้ (Impossible) ที่ผู้คนสายตาปรกติที่จะจินตนาการถึงโลกที่ปราศจากความลึก เนื่องจากเขาต้องอาศัยการหยั่งรู้ความลคึก ในการเคลื่อนย้ายและค้นหาตำแหน่งในเทศะ [สถานที่] (Space)

      สัญญาณ (Cue) การหยั่งรู้ความลึก สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท อันได้แก่ การมองด้วยดวงตา 2 ข้าง (Binocular) กับการมองด้วยดวงตาข้างเดียว (Monocular) โดยที่คำแรก อาศัยการเคลื่อนย้ายของดวงตาทั้ง 2 ข้าง (Bi หมายถึง 2; ocular หมายถึง ดวงตา) ในการทำงาน

      เมื่อเรารับการตรวจสายตา แพทย์มักจะขอให้เรามองตาม (Follow) ปลายนิ้วหนึ่งของเขา โดยที่เขายืนอยู่ประมาณ 1 เมตรห่างออกไป จากนั้นค่อยๆ เคลื่อนย้ายนิ้วของเขาเข้าใกล้จนแตะสันจมูกของเรา อันเป็นการทดสอบการกระจุก (Convergence test) ซึ่งหมายถึงสัญญาณของการหยั่งรู้ความลึก อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัญญาณ (Signal) ที่ส่งจากกล้ามเนื้อ (Muscle) เพื่อจะหันเหดวงตา

      ดังนั้น เพื่อมุ่งเน้น (Focus) การเข้าใกล้ (Approach) วัตถุ กล้ามเนื้อเหล่านี้ จะหันเหดวงตาเข้าด้านในไปยังสันจมูก แล้วสมองก็ใช้สัญญาณที่ส่งโดยกล้ามเนื้อเหล่านี้ กำหนดระยะทาง (Distance) ของวัตถุ เราสามารถประสบพบการกระจุกดังกล่าว โดยวางปลายนิ้ว ไว้ตรงจมูก แล้วค่อยๆ บรรจง นำปลายนิ้วให้เข้าใกล้จมูก

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Depth perception. https://en.wikipedia.org/wiki/Depth_perception [2018, February 24].