จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 15 : การเลือกคู่ครอง

จิตวิทยาผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงวัยสูงอายุ เสน่ห์ดึงดูดทางเพศ (Sexual attraction) เริ่มลดน้อยถอยลง เปิดทางให้ความรักอย่างอื่นเข้ามาแทน อาทิ ความละมุนละไม (Tenderness) การสนับสนุน และพันธสัญญา การ “ตกหลุมรัก” (Fall in love) เป็นเพียงขั้นแรกในการพัฒนาความใกล้ชิดสนิทสม และพันธสัญญาที่ยั่งยืน (Permanent) อาทิ การแต่งงาน

ในที่สุดผู้คนส่วนใหญ่ จะเลือกคู่ครอง เพื่อความสัมพันธ์ที่ยาวนาน (Long-term relationship) อย่างไรก็ตาม ความจริงในสหรัฐอเมริกาที่ว่า 40 ถึง 60% ของการแต่งงานใหม่ (และแม้เปอร์เซ็นต์จะสูงกว่านี้ในการต่งงานครั้งที่สอง) จะลงเอยด้วยการหย่าร้าง (Divorce) หมายความว่า การเลือกคู่ครองที่เหมาะสม (Right partner) อาจเป็นกระบวนการที่ทำได้ยาก ท้าทาย (Demanding) และลึกลับไม่น้อย

นักวิจัยเสนอแนะว่า หนทางหนึ่งในการหาคู่ครองสำหรับความสัมพันธ์ระยะยาว ก็คือการหาคนที่ใกล้เคียง (Closely match) กับ “ภาพในฝัน” (Ideal-partner schema) ซึ่งหมายถึง รายชื่อที่ได้รับการจัดระบียบในใจ (Mental) หรือรับรู้ (Cognitive) ของลักษณะเฉพาะ (Characteristics) ความจริง (Fact) ค่านิยม (Value) หรือศรัทธา (Belief) [ที่พึงปรารถนาซึ่งเราแสวงหา] ในผู้คน เหตุการณ์ หรือวัตถุ

ตัวอย่างเช่น “ภาพในฝัน” ของนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ชอบมากกว่า (Prefer) ได้แก่ (1) เมตตาและเข้าใจ (2) บุคลิกภาพที่น่าตื่นเต้น (3) ฉลาด (4) เสน่ห์ดึงดูดทางร่างกาย (5) สุขภาพแข็งแรง (6) อยู่อย่างง่ายๆ (Easy-going) (7) สร้างสรรค์ (Creative) (8) ต้องการมีลูก (9) มีการศึกษา และ (10) มีศักยภาพในการสร้างรายได้สูง

นักวิจัยลงความเห็นว่า “ภายในฝัน” ของผู้ชายต่างจากของผู้หญิงในข้อ 4 ที่ผู้ชายให้ความสำคัญแก่เสน่ห์ดึงดูดทางร่างกาย และในข้อ 10 ที่ผู้หญิงให้ความสำคัญแก่ศักยภาพในการสร้างรายได้

เหตุผลหนึ่งของการนัดกิน-เที่ยว (Dating) กับเพศตรงข้ามที่แตกต่างกัน ก็เพื่อค้นหา คู่ครองที่อุปนิสัย (Trait) ใกล้เคียงกับ “ภาพในฝัน” มากที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อเราถูกเสน่ห์ดึงดูดจากอารมณ์เร่าร้อน (Passion) เราจะสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลว่า ใช่คนที่มีอุปนิสัยตรงกับ “ภาพในฝัน” หรือไม่

แม้ว่าพ่อแม่หรือเพื่อนสนิทที่สุดของเรา จะเตือนเราว่า คู่เคียง (Partner) ของเรามีอุปนิสัยที่บกพร่องบางอย่าง แต่เราก็มักจะเอา “หูทวนลม” (Turn a deaf ear) เพราะในสภาวะที่ “ความรักทำให้ตาบอด” (Love-blinded) เรามักเห็นแต่เขาหรือเธอในคอุดมคติ เท่านั้น

เมื่อเลือกคู่ครองได้แล้ว ทั้งชายและหญิงก็พร้อมที่จะมีพันธสัญญา อาทิ การแต่งงาน (92%) หรืออยู่กินนอนด้วยกัน (8%) สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ อีก 7 ถึง 10 ปี มักจะกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของความสัมพันธ์ในระยะยาว

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Love - http://en.wikipedia.org/wiki/Love [2015, July 25].