จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 143: ประสาทสัมผัสกับการหยั่งรู้ (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-143

ลักษณะ (Feature) สำคัญหนึ่งของการหยั่งรู้ (Perception) คือการที่มันไม่ค่อย (Rarely) เป็นสำเนา (Copy) ของโลกแห่งความเป็นจริง (Real world) ในการศึกษาว่า ประสบการณ์อาจทำให้เกิดความลำเอียง (Bias) ในการหยั่งรู้ของเรา ได้อย่างไรในเมื่อไม่มีบุคคล 2 คนใด ที่มีมุมมองโลกในหนทางเดียวกัน

นักวิจัยขอให้นักศึกษามหาวิทยาลัย 20 คนที่ชอบดนตรีร็อค (Rock music) และอีก 20 คนที่ไม่ชอบดนตรีร็อค ฟังดนตรีร็อค ตัวอย่าง 10 วินาที แล้วขอให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มปรับความดัง-ค่อย (Volume adjustment) ของดนตรีร็อคคตัวอย่าง เพื่อ “จับคู่” (Match) ระดับที่แตกต่างกันของความเข้มข้น (Intensity) ตั้งแต่เสียงนุ่มค่อย (Soft) มาก จนถึงเสียงดังกระหึ่มไปทั่ว(Extremely loud)

นักวิจัยรายงานผลว่า ผู้เข้ารับการทดลอง (Subject) ที่ชอบดนตรีร็อค จะปรับเสียงให้ดังอย่างต่อเนื่อง (Consistently) กว่าระดับอ้างอิง (Reference) ในขณะที่ผู้เข้ารับการทดลองที่ไม่ชอบดนตรีร็อค จะปรับเสียงให้ค่อยลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การศึกษานี้ แสดงให้เห็นถึงความลำเอียงของมุมมองของคนเรา โดยมักไม่รู้ตัว (Unawareness)

คนเรามักไม่ค่อยมีประสบการณ์ของประสาทสัมผัสที่บริสุทธ์ (Pure sensation) เนื่องจากสมองของเราจะเปลี่ยนประสาทสัมผัสอัตโนมัติ (Automatically) และทันที (Instantaneously) ให้กลายเป็นการหยั่งรู้ แม้การหยั่งรู้ อาจไม่ใช่กระจก (Mirror) สะท้อนอย่างแม่นยำ (Exactly) ของเหตุการณ์ ผู้คน และวัตถุในสภาพแวดล้อมของเรา

แต่การหยั่งรู้เป็นการแปรผล (Interpretation) ซึ่งหมายความว่า การหยั่งรู้สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลำเอียงได้ตามแต่ละบุคคล ในประสบการณ์ ความทรงจำ อารมณ์และแรงจูงใจ (Motivation) ดังตัวอย่างของเกเบรียล (Gabrielle) ซึ่งเคยมีการหยั่งรู้ในสุนัขจาก “ดี” ไป “เลว” โดยประสบการณ์ส่วนบุคคลของเธอที่ถูกสุนัขกัด

ดั้งนั้น ในคราวถัดไปที่เธอเห็นสุนัข เธอจะไม่เพียงมองเห็นเป็นสัตว์โลก (Creature) 4 เท้าที่มีหู จมูก และหางเท่านั้น แต่เธอจะเห็นสุนัขเป็นสัตว์โลกที่มี 4 เท้าที่เลวร้าย เพื่อให้เข้าใจว่า ประสาทสัมผัสได้กลายเป็นการหยั่งรู้ได้อย่างไร เราต้องแบ่งกระบวนการ (Process) ออกเป็นหลากหลายขั้นตอนต่อเนื่อง (Series) ที่แยกแยะชัดเจน (Discrete) ด้วยหนทางที่ปฏิบัติได้ในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งซับซ้อน และมีปฏิกิริยาต่อกัน (Interactive)

กระบวนการรวม (Assembly) และจัดแจง (Organize) ประสาทสัมผัสให้เป็นการหยั่งรู้ เป็นที่สนใจอย่างมากในบรรดานักจิตวิทยา (Psychologists) รุ่นแรกๆ ซึ่งไม่มีความเห็นสอดคล้องกันเลยว่า การหยั่งรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sensation (psychology) https://en.wikipedia.org/wiki/Sensation_(psychology) [2017, January 6].
  3. Perception https://en.wikipedia.org/wiki/Perception [2017, January 6].