จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 142: ประสาทสัมผัสกับการหยั่งรู้ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-142

เราสามารถจำลอง (Approximate) ดูว่า “ประสาทสัมผัสเสมือน” (Virtual sensation) มีรูปโฉม (Look) อย่างไร โดยวางครึ่งหนึ่งของลูกปิงปองบนตาข้างหนึ่ง แล้วเราจะเห็นลูกปิงปองที่เกือบจะทึบแสง (Opaque) พร้อมด้วยเงา (Shadow) ผิวเนื้อ (Texture) และรูปทรงสีมืด แต่ไร้ความหมาย สิ่งนี้คล้ายๆ กับประสาทสัมผัส

ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดง (Illustrate) ถึงความแตกต่างระหว่างประสาทสัมผัสกับการหยั่งรู้ (Perception) คือภาพฉาย (Image) จากเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ของลูกอ่อน (Fetus) ในครรภ์ (Womb) โดยลูกอ่อนอาจอยู่ในท่านอน เห็นหัวกลม (Rounded tummy) จากด้านซ้ายและหัวใหญ่จากด้านขวา

เหนือศีรษะของลูกอ่อนในครรภ์ อาจเป็นแขนและมือข้างขวา อาจนับจำนวนนิ้วมือทั้ง 5 ได้ ตลอดจนเห็นลูกอ่อนดูดนิ้วหัวแม่โป้ง เมื่อเรารู้ว่ากำลังมองหาอะไร เราสามารถเปลี่ยนแต้มหรือจุด (Blotch) ของสีและรูปร่างที่ไร้ระเบียบ (Random) ให้กลายเป็นภาพจากใจของลูกอ่อนได้

ในทางปฏิบัติ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะสนองตอบ (Respond) ปรับเปลี่ยน (Adapt) และอยู่รอด (Survive) ถ้าเราต้องอาศัยเพียงประสาทสัมผัส แต่ ณ จุดนี้ เราคงจะเข้าใจถึงความสำคัญของการเปลี่ยนประสาทสัมผัสให้เป็นการหยั่งรู้ อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะ (Feature) สำคัญหนึ่ง ของการหยั่งรู้ ก็คือ มันไม่ค่อยจะจำลองเหมือนโลกจริงเป๊ะ (Exactly)

ในการศึกษาว่า ประสบการณ์จะบิดพลิ้วการหยั่งรู้ได้อย่างไร นักวิจัยถามนักศึกษามหาวิทยาลัย 20 คนที่ชื่นชอบดนตรีร็อค (Rock music) และอีก 20 คนที่ไม่ชอบดนตรีดังกล่าว ให้ฟังดนตรีร็อคตัวอย่างเพียง 10 วินาที

แล้วผู้เข้ารับการทดลอง (Subject) ในแต่ละกลุ่มปรับความดัง-ค่อย (Volume) ของเสียงดนตรีให้สอดคล้อง (Match) กับนานาระดับของความเข้มข้น (Level of intensity) มีช่วง (Range) ตั้งแต่เสียงค่อย (Soft) ไปยังเสียงดังสุดขีด (Extremely loud)

นักวิจัยรายงานว่า ผู้เข้ารับการทดลองที่ชื่นชอบดนตรีร็อค ปรับเสียงให้ดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Consistently) โดยให้เสียงดังกว่าระดับอ้างอิง (Reference level) ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ชอบดนตรีร็อคเลย ก็ปรับเสียงให้ค่อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยให้เสียงค่อยกว่าระดับอ้างอิง

การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า ประสบการณ์ของเราสามารถบิดพริ้วการหยั่งรู้ได้โดยมักปราศจากการรับรู้ ดังนั้นในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีบุคคล 2 คนใด ที่มองจากใจในหนทางเดียวกันเป๊ะ เนื่องจากประสบการณ์ส่วนบุคคลเปลี่ยนแปลง เกิดความลำเอียง และแม้กระทั่งบิดพลิ้วการหยั่งรู้

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sensation (psychology) https://en.wikipedia.org/wiki/Sensation_(psychology) [2017, December 29].
  3. Perception https://en.wikipedia.org/wiki/Perception [2017, December 29].