จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 141: ประสาทสัมผัสกับการหยั่งรู้ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-141

ส่วนใหญ่ของความสำเร็จและความสุขของคนเรา ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมอย่างชาญฉลาด (Intelligently) และการปรับตัวอย่างเหมาะสม (Adapt appropriately) ขั้นตอนแรกของการสนองตอบและการปรับตัวเกี่ยวข้องกับการรวบรวมประสาทสัมผัส (Sensation) ที่ไร้ความหมายจำนวนมหาศาล แล้วเปลี่ยนให้เป็นการหยั่งรู้ (Perception) ที่ได้ประโยชน์

เนื่องจากสมองของคนเราเปลี่ยนประสาทสัมผัสให้กลายเป็นการหยั่งรู้ที่รวดเร็วมากโดยอัตโนมัติ พร้อมด้วยการรับรู้เพียงเล็กน้อย เราจึงอาจเหมาเอาว่า ประสาทสัมผัสคือการหยั่งรู้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการเปลี่ยนแปลงประสาทสัมผัสให้กลายเป็นการหยั่งรู้ ได้รับอิทธิพลจากความตื่นตัว (Alert) ความง่วงนอน (Sleepy) ความกังวล อารมณ์ แรงจูงใจ หรือไม่? หรือได้รับผลกระทบจากการใช้ยาที่ถูกหรือผิดกฎหมาย?

ตัวอย่างเช่น การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุให้การหยั่งรู้ในสถานการณ์สังคมด้วยเหตุผลน้อยลง (Less rational) และลดการยับยั้งชั่งใจ (More uninhibited) อันเป็นสาเหตุให้ผู้คนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการทำตัว อย่างก้าวร้าว (Act aggressively) ตัวสินใจที่ผิดพลาด (Terrible) สร้างปัญหา หรือพูดในสิ่งที่โง่เขลา (Dumb) อันที่จริงแล้ว ประสารทสัมผัส กับการหยั่งรู้ มีความแตกต่างเฉกเช่นกลางวันกับกลางคืน

ประสารทสัมผัสคือการรับรู้ในครั้งแรกของสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ซึ่งกระตุ้น (Activate) ตัวรับประสาทสัมผัส (Sensory receptor) ที่ผลิต (Produce) สัญญาณไฟฟ้า (Electric signal) อีกทอดหนึ่ง แล้วสมองก็จะแปลงโฉม (Transform) สัญญาณนี้ ให้เป็นชิ้นส่วนของข้อมูล (Bits of information) ที่ไร้ความหมาย (Meaningless)

ในโลกแห่งความเป็นจริง เรามักไม่ค่อย (Rare) ประสบประสาทสัมผัส เพราะมันจะถูกแปลงเป็นการหยั่งรู้ทันที (Instantaneously) โดยอัตโนมัติ เราจึงอาจเรียกมันว่า “ประสาทสัมผัสเสมือน” (Virtual sensation) และโดยปราศจากการรับรู้ สมองของคนเราก็รวบรวม (Combine) ประสาทสัมผัสให้เป็นการหยั่งรู้

การหยั่งรู้ คือประสบการณ์ที่เราได้รับหลังจากที่สมองของเราได้ประกอบ (Assemble) ประสาทสัมผัสจำนวนมหาศาลที่ไร้ความหมาย ให้ขึ้นเป็นรูปแบบ (Pattern) ที่มีความหมาย หรือเป็นรูปร่าง (Image) ขึ้นมา แต่การหยั่งรู้มักไม่ค่อยเหมือนแบบจำลอง (Replica) ของสิ่งกระตุ้นดั้งเดิม (Original) เพราะมันมักถูกเปลี่ยนไปโดยความลำเอียง การต่อเติมเสริมแต่ง หรือการบิดพลิ้ว (Distort) นานาประสบกาณ์ที่ไม่ซ้ำแบบใคร (Unique) การหยั่งรู้จึงเป็นการแปรผลส่วนบุคคลของโลกจริง (Real world)

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sensation (psychology) https://en.wikipedia.org/wiki/Sensation_(psychology) [2017, December 23].
  3. Perception https://en.wikipedia.org/wiki/Perception [2017, December 23].