จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 14 : ประเภทของความรัก (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

โรเบิร์ต สเตอร์นเบอร์ก (Robert Sternberg) ใช้ทฤษฎีสามมิติของความรัก (Triangular Theory of Love) ตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับความรัก ดังนี้

  • รักแรกพบ (Love at first sight) มีจริงหรือ? – รักแรกพบ เกิดขึ้นเมื่อเราเต็มเปี่ยม (Overwhelmed) ไปด้วยอารมณ์เร่าร้อนจากความรักใคร่ (Passion) โดยปราศจากความใกล้ชิด (Intimacy) หรือพันธสัญญา (Commitment) โรเบิร์ต สเตอร์นเบอร์ก เรียกความรักนี้ว่า “หลงเสน่ห์” (Infatuated) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในทันทีทันใด เกี่ยวข้องกับการปลุกเร้าทางสรีระ (Physiological arousal) และอยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากไม่มีความใกล้ชิดสนิทสนม และพันธสัญญา กล่าวคือ จะค่อยๆ เลือนหาย (Fade away) ในที่สุด
  • ทำไมจึงรีบแต่งงานหลังจากพบรักได้ไม่นานนัก? - โรเบิร์ต สเตอร์นเบอร์ก เรียกความรักนี้ว่า “โลกมายา” (Hollywood) ซึ่งเป็นการผสมระหว่างความรักใคร่ด้วยอารมณ์เร่าร้อน กับพันธสัญญา โดยปราศจากความใกล้ชิดสนิทสนม ความรักแบบนี้เป็นพันธสัญญาของคู่ชายหญิงบนพื้นฐานของความรักใคร่ต่อกันและกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการพัฒนาความใกล้ชิดสนิทสนมในเวลาอันใกล้ ความสัมพันธ์ดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะล้มเหลวไปในที่สุด เช่นกัน
  • มีความรักแต่ไม่มีความใคร่ได้ไหม? - โรเบิร์ต สเตอร์นเบอร์ก เรียกความรักนี้ว่า “รักกันฉันท์มิตร” (Companionate) ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างความใกล้ชิดสนิทสนม กับพันธสัญญา โดยปราศจากความใคร่ทางเพศ (Sexual passion) ตัวอย่างของความรักประเภทนี้ ได้แก่คู่สามีภรรยาที่ยังมีพันธสัญญาต่อกันและอยู่กินกันแต่เสนห์ทางกาย (Physical attraction) ได้จีดจางหายไป (Wane)
  • ทำไมความรักอันหวานชื่น (Romantic love) จึงไม่จีรังยั่งยืน? – ความรักประเภทนี้ เป็นส่วนผสมระหว่างความใกล้ชิดสนิทสนม กับความรักใคร่ด้วยอารมณ์เร่าร้อน แต่ไม่มีพันธสัญญาที่จะจรรโลงให้ยั่งยืน ดังนั้นทันทีที่ความรักใคร่ด้วยอารมณ์เร่าร้อน ได้ตายจากไป และความใกล้ชิดสนิทมได้จางหายไป ความรักจึงหมดสภาพไป และต่างคนต่างแยกกันไป

ประมาณ 90% ของผู้ใหญ่ในการสำรวจ รายงานว่าได้เคย “ตกหลุมกรัก” และมีเพียง 10% เท่านี้นที่รายงานว่า ไม่เคยมีความรัก แต่ก็มีบางคนที่รายงานว่า พบความรักที่แสนเจ็บปวด (Painful) มากจนไม่อยากมีความรักอีก นักวิจัยเชื่อมั่นว่า เมื่อคนเราเริ่มมีความรักเป็นครั้งแรก ความตื่นเต้นและความสุขที่เรารู้สึก ได้รับการเติมเชื้อเพลิงโคยความรักใคร่ด้วยอารมณ์เร่าร้อน

แต่เราจำเป็นต้องค่อยๆ พัฒนาพันธสัญญาและความใกล้ชิดสนิทสนม ถ้าต้องการให้ความสัมพันธ์นั้นยั่งยืน ส่วนใหญ่แล้วเราใช้คำว่า “มีความรัก” (In love) เพื่อหมายถึงความรู้สึกทางอารมณ์ บวกกับเสน่ห์ดึงดูดทางเพศ (Sexual attraction)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Love - http://en.wikipedia.org/wiki/Love [2015, July 18].