จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 131: ระบบเทียมของการมองเห็น (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-131

เป็นไปได้หรือที่จะมีระบบเทียมของการมองเห็น (Artificial visual system)? เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจมากในบรรดานักวิจัยด้านการมองเห็น แต่สาเหตุและความรุนแรง (Degree) ของความบอด (Blindness) ขึ้นอยู่กับส่วนของการมองเห็นที่ได้รับผลกระทบ (Affected) ตัวอย่างเช่น คนจะตาบอดสนิท (Totally blind) ถ้า “ตัวรับแสง” (Photo receptor) ที่เป็นรูปทรง “ท่อนไม้” (Rod) และรูปทรง “กรวย” (Cone) ในจอประสาทตา (Retina) ถูกทำลาย

ความบอดดังกล่าว อาจเกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) หรือเกิดจากเชื้อโรคที่ได้รับการสืบทอดทางกรรมพันธุ์ (Retinitis pigmentosa) แม้ว่าส่วนหน้าของตาอาจยังคงทำงานอยู่ (Functioning) การรักษาความบอด สามารถทำได้โดยการฝัง (Implant) ชิปขนาดจิ๋ว (Micro-chip) เข้าไปในจอประสาทตา เพื่อทดแทน “ตัวรับแสง” ที่ถูกทำลาย

สำหรับบุคคลเหล่านี้ นักวิจัยกำลังพัฒนาชิปขนาดจิ๋วเท่าหัวไม้ขีด (Match head) ที่จะฝังยังด้านหลังขอจอประสาทตา ซึ่งชิปนี้จะเปลี่ยนคลื่นแสง (Light wave) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electrical signal) ที่จะกระตุ้น (Activate) ชั้นกลาง (Middle layer) ของเซลล์ปมประสาท (Ganglion) ส่วนที่ยังมิได้ถูกทำลาย

จากนั้น เซลล์ปมประสาท จะทำให้สัญญาณชีพจร (Impulse) เดินทางไป (Travel) ยังสมองเพื่อการประมวลผล (Processing) แม้ว่า ชิปขนาดจิ๋วนี้จะยังไม่สามารถฟื้นฟู (Restore) การมองเห็นได้อย่างเต็มศักยภาพ แต่จะทำให้ผู้ที่เคยบอดสนิทเริ่มเห็นเงา (Shade) ของแสง นักวิจัยยังคงต้องพัฒนาแหล่งพลัง (Power supply) ก่อนที่จะสามารถทดสอบชิปขนาดจิ๋วดังกล่าวได้อย่างสัมฤทธิ์ผล

สำหรับผู้ที่ตาบอด เนื่องจากตาทั้ง 2 ดวง หรือประสาทการมองเห็น (Optic nerve) ถูกทำลาย นักวิจัยกำลังพัฒนาระบบเทียมของการมองเห็น (Artificial visual system) ซึ่งจะส่งสัญญาณชีพจรไปยังสมองโดยตรง

กรณีของเคที่ (Katie) ซึ่งเคยเอ่ยถึงก่อนหน้านี้ เป็นคนตาบอดสนิท เนื่องจากตาทั้ง 2 ข้างของเธอถูกทำลายโดยสิ้นเชิง (Completely) นักวิจัยได้ฝังเส้นลวดขนาดจิ๋ว (Tiny wire) 36 เส้นหรือขั้วไฟฟ้า (Electrode) ถูกฝังโดยตรงไปยังเปลือกสมองส่วนการเห็น (Visual cortex)

เมื่อขั้วไฟฟ้าเหล่านี้ ได้รับการกระตุ้น (Stimulated) เคที่เริ่มเห็นแสง 36 จุด แต่ก็น้อยเกินกว่าที่จะเห็นบางสิ่งที่ง่ายๆ (Simple) เพียงเพื่อหลีกเลี่ยงการชนวัตถุที่ขวางอยู่ในขณะที่เธอก้าวเท้าอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยค้นพบความคืบหน้า อย่างมีนัยสำคัญ (Significant step forward) ในการพัฒนาระบบเทียมของการมองเห็น

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Visual perceptio https://en.wikipedia.org/wiki/Visual_perception [2017, October 14].