จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 130: ความเจ็บปวดกับการฝังเข็ม (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-130

การศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็ม (Acupuncture) ในการลดความเจ็บปวดที่ศีรษะ (Headache) และที่แผ่นหลัง (Back) แสดงว่า 50% ถึง 80% ของผู้ป่วยรายงานการดีขึ้นช่วงสั้น (Short-term improvement) แต่หลังจาก 6 เดือน ประมาณ 50% ของผู้ป่วย รายงานการกลับคืนมา (Return) ของกลุ่มอาการ (Symptom) ความเจ็บปวด

มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า การฝังเข็มลดความเจ็บปวดเรื้อรัง (Chronic) บางชนิดในหมู่นักกีฬา แต่ก็มีประจักษ์หลักฐานไม่มากที่แสดงประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยที่เสพติดเฮโรอีน (Heroine) กัญชา (Cocaine) หรือนิโคตีน (Nicotine)

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) ของสหรัฐอเมริกา สรุปผลว่า การฝังเข็มมีประสิทธิผลสำหรับอาการคลื่นเหียน (Nausea) จากเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือการแพ้ท้อง (Morning sickness) และความเจ็บปวดบางชนิด อาทิ หลังการรักษาฟัน (Dental treatment)

ในปัจจุบัน การฝังเข็มเป็นการแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) เพราะมิใช้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เป็นเพียงการกล่าวอ้าง (Claim) ความเชื่อหรือแนวทางปฏิบัติที่อาจเป็นวิทยาศาสตร์ (Pseudo-science) อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มก็สามารถใช้ร่วม (Combination) กับการรักษาด้วยรูปแบบ (Form) อื่นด้วย

โดยทั่วไปการฝังเข็มเป็นหัตถการที่ปลอดภัย เมื่อดำเนินการโดยนักปฏิบัติ (Practitioner) ที่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ โดยใช้เข็มที่สะอาด และใช้ครั้งเดียว (Single use) แล้วทิ้ง โดยมีอัตราต่ำของผลกระทบไม่พึงประสงค์ (Adverse effect) อุบัติเหตุ และการติดเชื้อที่เกิดขึ้นมักเกี่ยวข้องกับความผิดพลาด (Infraction) ของวิธีการปลอดเชื้อ (Sterile) หรือการละเลยของผู้ปฏิบัติ

การฝังเข็มเป็นส่วนประกอบสำคัญ (Component) ของการแพทย์จีนแผนโบราณ (Traditional Chinese medicine) ซึ่งมีหลากหลาย (Diverse range) ของทฤษฎี ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่แตกต่างกัน แนวทางปฏิบัติและวิธีการ (Technique) ก็แตกต่างกันในแต่ละประเทศ

การฝังเข็มแพร่หลายในครั้งแรกจากจีนไปยังเกาหลี ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 แล้วต่อไปยังญี่ปุ่น ผ่านผู้เผยแพร่ศาสนาการแพทย์ (Medical missionary) แล้วก็ไปยังยุโรป เริ่มต้นด้วยฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การฝังเข็มก็กระจายไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก อย่างไรก็ตาม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ (Spiritual element) ของการฝังเข็ม [ซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อทางตะวันตก (Western beliefs)] ก็ถูกละทิ้ง (Abandon) ยังคงเหลือแต่ความคิดของเข็มเรียวเล็ก (Taper) ที่แทงเข้าไปยังเส้นประสาท (Nerve) เท่านั้น

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Pain https://en.wikipedia.org/wiki/Pain [2017, October 7].
  3. Acupuncture https://en.wikipedia.org/wiki/Acupuncture [2017, October 7].