จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 129: ความเจ็บปวดกับการฝังเข็ม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-129

ไม่เพียงแต่สมองจะผลิตสารเอ็นโดฟิน (Endorphin) เท่านั้น แต่ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ในร่างกายก็ผลิตสารเคมีที่คล้ายกับเอ็นโดฟิน ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวดด้วย นักวิจัยย้าย (Remove) เซลล์ของต่อมหมวกไตจากคนที่สมองตายแล้ว (Brain-dead) เพื่อปลูกถ่าย (Transplant) เซลล์เหล่านี้เข้าไปในเส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal cord) ของผู้ป่วยที่ได้ทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดเรื้อรังและร้ายแรง (Chronic and severe) ของมะเร็ง (Cancer)

4 ใน 5 ของผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ดังกล่าว รายงานผลการลดความเจ็บปวดลงอย่างมาก (Dramatic) ซึ่งเป็นกำลังใจที่ดี (Encouraging) สำหรับนักวิจัย เพราะเป็นการเสนอแนะว่า การปลูกถ่ายของเซลล์ต่อมหมวกไตที่ผลิตสารเคมีคล้ายกับสารเอ็นโดฟิน น่าจะเป็นวิธีการที่มีความหวัง (Promising approach) ในการรักษาความเจ็บปวดเรื้อรัง นอกจากนี้สารเอ็นโนฟิน ยังอาจเกี่ยวข้องการอธิบายว่า การฝังเข็ม (Acupuncture) สามารถลดความปวดได้อย่างไร?

ในเบื้องต้น (Initially) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการฝึกฝนด้วยวิธีการเข้มงวด (Rigorous) ของโลกตะวันตก (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) ได้แสดงออกซึ่งความสงสัย (Doubt) เกี่ยวกับหัตถการที่ชาวจีนโบราณ (Ancient) ใช้ในการลดความเจ็บปวด แต่วิธีการนี้สามารถแกะรอย (Trace) ย้อนหลังไปประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสตกาล เรียกว่า “การฝังเข็ม”

การฝังเข็ม เป็นหัตถการที่นักปฏิบัติ (Practitioner) แทง (Insert) เข็มเล็กบางเข้าไปในหลายๆ จุดของพื้นผิว (Surface) ของร่างกาย แล้วตวัดเป็นเกลียวด้วยมือ (Manually twirl) หรือกระตุ้น (Stimulate) เข็มด้วยไฟฟ้า หลังจาก 10 – 20 นาทีของการกระตุ้นเข็ม ผู้ป่วยมักรายงานการลดลงของความเจ็บปวดหลากหลายชนิด ส่วนที่ลึกลับ (Mysterious) ของหัตถการนี้ ก็คือ จุดแทงเข็มที่ได้กำหนดขึ้น (Map) เมื่อหลายพันปีที่แล้ว ซึ่งนักวิจัยทุกวันนี้เรียนรู้ว่า มักห่างไกลมาก (Far removed) จากบริเวณ (Site) ที่เจ็บปวดจากบาดแผล อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายบางส่วนของความลึกลับที่อยู่รอบๆ (Surround) การฝังเข็มได้แล้ว

เริ่มต้นที่จุดของการแทงเข็ม ซึ่งดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง (Unrelated) กับจุดของการบาดเจ็บ มักอยู่ใกล้เส้นทาง (Pathway) ที่เป็นสื่อนำ (Conduct) ความเจ็บปวด แล้วยังมีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ที่แสดงว่า การกระตุ้นจุดเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการคายออกหรือการหลั่ง (Secretion) สารเอ็นโดฟิน ซึ่งสามารถลดความเจ็บปวดได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยได้รับยานาโลโซน (Naloxone) ที่ขัดขวาง (Block) การคายหรือหลั่งสารเอ็นโนฟิน การฝังเข็มก็จะไม่สามารถลดความเจ็บปวด นอกจากนี้การตรวจด้วยหัตถการสร้างภาพกิจกรรมสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (fMRI brain scan) แสดงให้เห็นว่าการฝังเข็มลดกิจกรรมประสาท (Neural activity) ในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัส (Sensation) ความเจ็บปวด

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Pain https://en.wikipedia.org/wiki/Pain [2017, September 30].
  3. Acupuncture https://en.wikipedia.org/wiki/Acupuncture [2017, September 30].