จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 128: ความเจ็บปวด (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-128

นอกจากผลกระทบของปัจจัยทางจิตวิทยาแล้ว ความเข้าใจเบื้องต้น (Initial perception) ของความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บที่ร้ายแรง (Serious injury) สามารถลดลงได้ โดยความสามารถของสมองในการคายออกหรือหลั่ง (Secrete) สารเคมีซึ่งลดความเจ็บปวดของร่างกายเอง ที่เรียกว่า เอ็นโดฟิน (Endorphin)

ผู้ที่ประสบการบาดเจ็บร้ายแรง อาทิ ในกีฬาฟุตบอลอเมริกัน มักรายงานว่า ในเบื้องต้น เขาสามารถทนความเจ็บปวดได้ (Bearable) แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป เขาเจ็บปวดดังกล่าวก็เริ่มแย่ลง เหตุผลหนึ่งของความเจ็บปวดดูเหมือนจะบรรเทาลงทันทีหลังการบาดเจ็บ ก็คือสมองผลิตสารเอ็นโดฟิน นั่นเอง

สารดังกล่าว เป็นสารเคมีที่ผลิตโดยสมองและหลั่งหรือคายออกมา (Secreted) ในการสนองตอบต่อการบาดเจ็บหรือความเครียดที่รุนแรง (Severe stress) ทางร่างกายหรือจิตใจ คุณสมบัติ (Property) ของการลดความเจ็บปวดของสารนี้คล้ายคลึงกับสารมอร์ฟีน (Morphine)

สมองผลิตสารเอ็นโดฟิน ในสถานการณ์ที่ปลุกเร้า (Evoke) ความกลัว ความกังวล ความเครียด หรือการบาดเจ็บทางร่างกาย และหลังจากกิจกรรมแอโรบิกที่แรงกล้า (Intense aerobic) ตัวอย่างเช่น ผู้รับการทดลอง (Subject) แสดงระดับสูงของสารเอ็นโดฟิน หลังจากที่ได้รับความเครียดจากการถูกไฟฟ้ากระตุก (Shock) หรือจับมือกันในน้ำแข็ง

ผู้ป่วยแสดงระดับที่สูงขึ้นของสารเอ็นโดฟิน หลังจากประสาทของฟัน (Teeth nerve) ถูกสัมผัส หรือผ้าพันแผลถูกแกะออกจากบริเวณร่างกายส่วนที่ถูกไฟไหม้เกรียม การศึกษาแสดงว่า สมองผลิตสารเอ็นโดฟินเพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างช่วงเวลาของความเครียดที่แรงกล้าของร่างกาย

สารเอ็นโดฟินและยาแก้ปวด (Pain-killer) อื่นๆ อาทิ เฮโรอีน (Heroine) มอร์ฟีน และโคดีน (Codeine) [ยาเสพติดชนิดหนึ่งทำจากฝิ่นใช้แก้ไอ] กระทำ (Act) เพื่อหยุดยั้งหน่วยรับความรู้สึก (Receptor) จากการให้สัญญาณ (Signal) ความเจ็บปวดอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง (Persistent) แต่มิได้หยุดยั้งหน่วยรับความรู้สึกจากการให้สัญญาณความเจ็บปวดที่เร็วและร้ายแรง (Sharp) จากการเสียดแทง (Pinprick)

นักวิจัยได้ค้นพบ (Identify) รหัสพันธุกรรม (Genetic code) ที่เป็นสาเหตุ (Responsible) สำหรับพัฒนาการของหน่วยรับความรู้สึกของสารเอ็นโดฟิน มอร์ฟีน หรือเฮโรอีน ในสมอง เป็นกุญแจสำคัญของการลดความเจ็บปวด นักวิจัยหวังว่า หลังจากศึกษาจนเข้าใจการทำงานของหน่วยรับความรู้สึกแล้ว เขาจะสามารถพัฒนายาที่ลดความเจ็บปวดได้ แต่ไม่ถึงกับเสพติด

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Pain - https://en.wikipedia.org/wiki/Pain http://www.psitek.net/pages/PsiTekHTSW15.html#gsc.tab=0 [2017, September 23].