จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 125: พลังจิตเหนือกาย (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-125

ต่อไปนี้เป็น 4 ตัวอย่างของการลดความเจ็บปวด (Pain reduction) ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาหลอก (Placebo) และขั้นตอนตาบอด 2 ชั้น (Double-blind procedure)

  • 98% ของผู้ป่วยที่เดิมรายงาน (Originally report) อาการบรรเทา (Relief) ลงมาก (Marked) หรือหายขาด(Complete) จากความเจ็บปวดจากแผลมีหนอง (Ulcer) หลังการรักษาด้วยการแช่แข็งกระเพาะ (Gastric freezing) อย่างไรก็ตาม หลังขั้นตอนตาบอด 2 ชั้นในเวลาต่อมา พบว่าวิธีรักษานี้ไม่ได้ผล (Ineffective)
  • 85% ของผู้ป่วยที่เดิมรายงานการลดลงในความเจ็บปวด จากงูสวัสดิ์ (Herpes simplex) ซึ่งมีอาการเจ็บจากไข้หวัด (Cold sore) และอาการเจ็บอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital sore) หลังจากรักษาด้วยยาจริง อย่างไรก็ตาม หลังขั้นตอนตาบอด 2 ชั้นในเวลาต่อมา พบว่า ยาจริงนี้ไม่ได้ผล
  • 56% ของผู้ป่วยที่เดิมรายงานการลดลงในอาการปวดเค้นที่หัวใจ (Agina pectoris) [อันเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ]จากการได้รับหัตถการ (Procedure) ทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยไม่ทราบ (Unknown to patient) แต่เกี่ยวข้องกับผ่าตัดผิวหนัง (Skin incision)
  • 35% (ช่วงระหว่าง 15% ถึง 58%) ของผู้ป่วยที่รายงานการใช้ยาหลอก ได้ช่วยลดความเจ็บปวด หลังการทำหัตถการผ่าตัดใหญ่ (Major surgical procedure) ที่ร้ายแรง (Serious) ในโรงพยาบาล

บนพื้นฐานของสิ่งที่ค้นพบดังกล่าวข้างต้นนี้ นักวิจัยได้บทสรุปดังนี้

  • ผลกระทบของยาหลอก (Placebo effect) มีศักยภาพทรงพลังสูง (Potentially very powerful) อาทิ การลดความเจ็บปวด การหายป่วยจากไข้หวัด หรือการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วจากหัตถการทางการแพทย์ (Medical procedure) ล้วนได้รับการประเมินคุณค่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก (Greatly under-estimated)
  • การให้ยาหลอก (ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดหรือยาฉีด) และการผ่าตัดหลอก สามารถสร้างผลกระทบหลอก (Placebo effect) อย่างมีนัยสำคัญ อาทิ ลดความเจ็บปวดได้ใน 15% ถึง 98% ของผู้ป่วย
  • ยาหลอก บ่งชี้ (Indicate) ถึงปฏิกิริยาที่ทรงพลัง (Powerful reaction) ของจิตใจเหนือร่างกาย (Mind over body) ซึ่งอธิบายว่า ทำไมผู้คนถึงมีประสบการณ์ที่แท้จริง และรายงานผลประโยชน์ทางสุขภาพ (Health benefit) ที่ได้รับจากการกินยาหลอกซึ่งวางขายหลายหลากอยู่ในท้องตลาด อาทิ ยาสมุนไพร (Herbal medicine) ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

นักวิจัยแนะนำว่า ยาหลอกอาจได้ผล โดยสร้างความเชื่อและความคาดหวังในเชิงบวก (Positive) ที่ลดความกังวล (Anxiety) และความเครียด (Stress) อันส่งผลให้เกิดความเข้าใจ (Perceived) ว่า ลดความเจ็บปวดลง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Functioning) ของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับสารพิษ (Toxins) และทำให้ฟื้นฟู (Recover) จากปัญหาได้รวดเร็วขึ้น เพราะจิตใจของเรามีผลกระทบที่ทรงพลังเหนือร่างกายของเรา

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. The Power of Mind over Body: How to Stay Well: http://www.psitek.net/pages/PsiTekHTSW15.html#gsc.tab=0 [2017, September 2].