จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 123: รสนิยมการกินต่างวัฒนธรรม (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-123

แม้ว่าชาวอเมริกันบางคน เริ่มมีรสนิยมการกินปลาดิบหรือซูชิ (Sushi) ซึ่งเป็นอาหารจานโปรด (Favorite dish) ในประเทศญี่ปุ่น แต่ส่วนมากยังคงปิดปากสนิท (Gag) ในเรื่องความคิดของการกินตาของปลาดิบ (Raw-fish eyes) แต่สำหรับเด็กๆ ชาวเอสกิโม (Eskimo) แล้ว ตาของปลาดิบเหมือนลูกอม (Candy) ที่แสนอร่อย โดยเด็กใช้มีดเอนกประสงค์ (All-purpose knife) ควักออก (Gouge out) ซึ่งลูกตาของปลาที่แล่เนื้อเถือหนังแล้ว (Filleted) จากมหาสมุทรอาร์ติก (Arctic)

หลายเผ่าพันธุ์ ในอัฟริกาตะวันออก (East Africa) เสริมอาหาร (Diet supplement) ด้วยเลือด ที่บางครั้งผสมด้วยน้ำนม โดยได้รับเลือดจากการเจาะ (Puncture) เส้นเลือด (Jugular vein) ของวัวด้วยลูกศรคมกริบ (Sharp arrow) อันที่จริง วัวสามารถถูกเจาะเลือดหลายครั้งๆ โดยไม่มีผลกระทบร้ายแรง (Ill effect) แต่อย่างใด เครื่องดื่มเลือดผสมน้ำนมถูกมองว่า เป็นแหล่งที่อุดม (Rich source) ด้วยโปรตีน (Protein) และธาตุเหล็ก (Iron)

ปฏิกิริยาของชาวอเมริกันต่อการกินหนอนตัวด้วง (Grub) ที่อวบ (Plump) ขาว หรือตาของปลาที่เปล่งประกาย (Glassy) ในความเย็น หรือการดื่มเลือดผสมน้ำนมอุ่นๆ ล้วนเป็นความรู้สึกน่ารังเกียจ (Disgust)

นักวิจัยเชื่อว่า ความน่ารังเกียจได้วิวัฒนามาแต่ดั้งเดิม (Originally evolved) เพื่อเป็นสัญญาณของการปฏิเสธ (Signal of rejection) อาหารที่อาจปนเปื้อน (Contaminated) หรือเป็นอันตราย (Dangerous) แสดงถึงค่านิยมทางวัฒนธรรม (Cultural value) ที่มีอิทธิพลและความลำเอียงต่อมุมมอง (Bias perception)

แต่ทุกวันนี้ เนื่องจากอิทธิพลของวัฒนธรรมและจิตวิทยา เราอาจแสดงความรังเกียจการกินอาหารหลากหลายแม้ไม่ปนเปื้อน อาทิ เนื้อแมว สุนัข หรือม้า หรือความรังเกียจสถานการณ์ อาทิ การแตะต้องตัวผู้ตาย แต่ต้องยอมรับความจริงที่ว่า สิ่งของเดียวกันถูกมอง (Viewed) ว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจในวัฒนธรรมหนึ่ง อาจถูกมองว่าไม่ผิดปรกติในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง

ในวัฒนธรรมการกินอาหารเผ็ด (Spicy hot) ของคนไทย เราคุ้นเคยกับการเผาไหม้ (Burning) ของแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ยึดติดอยู่กับหน่วยรับความรู้สึก (Receptor) ในเซลล์ที่ตรวจพบ (Detect) อุณหภูมิ และส่งความรู้สึกเจ็บปวด (Pain) หน่วยรับความรู้สึกดังกล่าวถูกกระตุ้นโดยส่วนประกอบ (Compound) ของพริกไทยและมัสตาร์ด (Mustard) เป็นต้น

เรารู้สึกเผ็ดเมื่อกินอาหาร เพราะหน่วยรับความรู้สึกถูกกระตุ้นให้ส่งสัญญาณเตือนว่า สิ่งที่เราใส่เข้าไปในปากอาจเป็นอันตราย แต่แท้จริงแล้ว เราสามารถกินอาหารเหล่านี้โดยไม่ทำลายลิ้น เพราะในที่สุดหน่วยรับความรู้สึกจะหยุดสนองตอบต่อส่วนประกอบเหล่านี้ เนื่องจากแคปไซซินสามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้ (Pain alleviation)

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Food: How spicy flavors trick your tongue http://www.bbc.com/future/story/20150120-hidden-ways-your-tongue-tastes [2017, August 19].