จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 121: ประสาทการสัมผัส (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-121

ผิวหนังของคนเราประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก (Receptor) ที่ปรับตัว (Adapt) อย่างรวดเร็ว (อาทิ ตัวรับความรู้สึกเส้นขน [Hair receptor]) และปัจจัยอื่นๆ ที่ปรับตัวได้อย่างเชื่องช้า การปรับตัวดังกล่าวปกป้องเราจากประสาทการสัมผัสที่มิให้รับภาระหนักเกินไป (Overload)

ใกล้กับส่วนล่าง (Bottom) ของผิวหนังชั้นนอก (Outer layer) เป็นกลุ่มขยายที่มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย (Threadlike extension) เรียกว่า “ปลายประสาทอิสระ” (Free nerve endings) เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวไม่มีอะไรปกป้องหรือล้อมรอบมัน คำถามหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลายประสาทอิสระ ก็คือตัวรับความรู้สึกเดียวกัน สามารถส่งผ่าน (Transmit) ข้อมูลเกี่ยวกับทั้งอุณหภูมิ (Temperature) และความเจ็บปวด (Pain) ได้อย่างไร?

นักวิจัยคิดว่า รูปแบบ (Pattern) ที่แตกต่างกันของกิจกรรมทางประสาท (Neural activity) อาจส่งสัญญาณประสาทความรู้สึกที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การกระพือการปลุกเร้า (Burst of firing) อย่างช้าๆ ของอุณหภูมิ และการกระพืออย่างรวดเร็วของความเจ็บปวด

ในชั้นไขมัน (Fatty layer) ของผิวหนัง มีตัวจับประสาทการสัมผัส (Touch sensor) ที่มีลักษณะเด่นชัด (Distinctive) ของชั้นผิวหนังที่คล้ายแผ่นบางๆ (Slice) ของหัวหอม (Onion) ซึ่งอ่อนไหวมากต่อการสัมผัส แต่เป็นตัวรับความรู้สึกเดียวที่สนองตอบต่อการสั่นสะเทือน (Vibration) และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อแรงกดดัน (Pressure) จากการสัมผัส หรือความเจ็บปวด กระตุ้น (Stimulate) ตัวรับความรู้สึกของผิวหนัง มันทำหน้าที่ถ่ายโอน (Transduction) และเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานให้เป็นสิ่งเร้าประสาท (Nerve impulse) ซึ่งความรู้สึกนี้เดินทางขึ้นไปถึงไขสันหลัง (Spinal cord) และในที่สุดจะไปถึงระบบประสาทรับความรู้สึก (Somatosensory cortex) ของสมอง

ระบบประสาทรับความรู้สึกดังกล่าวอยู่ในสมองกลีบข้าง (Parietal lobe) ทำหน้าที่แปลงโฉม (Transform) สิ่งเร้าทางประสาทให้กลายเป็นความรู้สึกของการสัมผัส อุณหภูมิ และความเจ็บปวด เรารู้ว่าส่วนไหนได้รับการกระตุ้น เพราะส่วนต่างๆ ของร่างกายมีตัวเทน (Represent) อยู่ในอาณาบริเวณที่แตกต่างกันของระบบประสาทรับความรู้สึก

เมื่อเปรียบเทียบกับการสัมผัสและอุณหภูมิ ประสาทรับรู้ความเจ็บปวดจะแตกต่างกัน เพราะมันไม่มีสิ่งกระตุ้นโดยเฉพาะ และอาจถูกระงับไว้ (Suppressed) ด้วยปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological factors) อันนำไปสู่แง่มุม (Aspect) ที่น่าสนใจของความเจ็บปวด อาทิ การฝังเข็ม (Acupuncture) และผลกระทบต่ออาหารที่รับประทานกันในนานาภูมิภาคของโลก

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Somatosensory system https://en.wikipedia.org/wiki/Somatosensory_system [2017, August 5].