จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 12 : ความคาดหวัง

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ทฤษฎีจิตวิทยาวิวัฒนาการ (Evolutionary psychology) กล่าวว่า ความแตกต่างในบทบาทของเพศ (Gender role) เกิดจากความต้องการตามวิวัฒนาการที่แตกต่างกัน เพื่อความอยู่รอด (Survival) ของแต่ละเพศ ตัวอย่างเช่น ผู้ชายจำเป็นต้องมีความก้าวร้าว (Aggressive) และครอบงำ (Dominant) เพื่อปกป้องครอบครัว ในขณะที่ผู้หญิงจำเป็นต้องใส่ใจ (Caring) และเอื้ออาทร (Helpful) ในการเลี้ยงดูลูก

ส่วน ทฤษฎีบทบาททางสังคม (Social role) กล่าวว่า ความแตกต่างในบทบาทของเพศ เกิดจากการที่ผู้ชายสวมบทบาทของผู้ประกอบอาชีพ ที่มีมาแต่ดั้งเดิม และสังคมส่งเสริมให้เขากล้าแสดงออก (Assertive) ในขณะที่ผู้หญิงมีบทบาทของครอบครัว มาแต่ดั้งเดิมและสังคมส่งเสริมให้เธอใส่ใจ [ในครอบครัว]

ทั้ง 2 ทฤษฎีนี้ มิได้ขัดแย้งกัน แต่เน้นหนักปัจจัยที่ต่างกัน ว่าเป็นทางร่างกาย (Biological) หรือจิตใจ (Psychological) นักวิจัยเตือนให้ระวัง (Caution) ว่าความแตกต่างในบทบาทของเพศ ไม่ได้หมายความว่า บทบาทหนึ่งดีกว่า หรือแย่กว่าอีกบทบาทหนึ่ง และหากมีความแตกต่าง ก็ไม่ควรใช้ในการเลือกปฏิบัติ (Discrimination)

บทบาทของเพศ ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อพัฒนาการการรับรู้ (Cognitive) สังคม และบุคลิกภาพ (Personality) แต่ยังมีผลต่อความคาดหวัง (Expectation) ในเรื่องความสัมพันธ์ (Relationship)

เมื่อเราเริ่มสวมบทบาทผู้ชายหรือผู้หญิง เรามักจะพัฒนาความคาดหวัง ในเรื่องใครคือผูที่เราอยากจะมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด ดังตัวอย่างเรื่องราว ซูซาน (Susan) ผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “ราชนินีงานรุ่น” (Prom queen) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (High school)

“เมื่อฉันไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ฉันเป็นคนมีเหตุผล (Sensible) มีตรรกะ (Logical) และสุขุมรอบคอบ (Level-headed) นั่นอาจเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนแรกฉันจึงนัดกิน-เที่ยว (Date) ด้วยกัน เป็นคนที่มีอุปนิสัยเหมือนฉัน เรามีการสนทนาอย่างจริงจังที่วิเศษมาก อ่านกวีนิพนธ์ (Poetry) อภิปรายปรัชญา (Philosophy) แต่ไม่เคยมีความรู้สึกรักใคร่ (Passion) จึงต้องแยกทางกันในที่สุด . . .

. . . จากนั้น ฉันก็ได้รู้จักชาร์ลี (Charlie) ผ่านการแนะนำของเพื่อน เขาเป็นคนรักสนุก หยิ่งยะโส (Arrogant) อวดดี (Cocky) และเป็นนักเล่นบาสเก็ตบอลที่ทำให้ผู้อื่นโกรธง่าย (Abrasive) ซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่ตรงข้ามกับฉันโดยสิ้นเชิง หลังจากที่ได้นัดกิน-เที่ยวกันสักพักใหญ่ เราก็ได้หมั้นกัน และแต่งงานในเวลา 1 ปีให้หลัง แม้เราจะมีอุปนิสัยตรงกันข้าม ฉันก็รักเขา และรู้ว่าเขาคือคนที่ใช่สำหรับฉัน”

แต่ 5 ปีให้หลัง เธอก็หย่าร้างกับเขา (Divorce) คำถามจึงมีอยู่ว่า อะไรทำให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวยั่งยืนหรือล้มเหลว?

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Gender role - http://en.wikipedia.org/wiki/Gender_role [2015, July 4].