จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 116: ความรู้สึกทางเคมี (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-116

เรามักไม่ค่อยคำนึงถึงสารเคมี (Chemical) นับพันๆ ตัวที่ใส่เข้าไปในปากในชีวิตประจำวัน แต่เรารับรู้เมื่อมีบางอย่างที่มีรสชาติ (Taste) ดีมากหรือแย่มาก เรายังรับรู้อีกว่า เมื่อเราลวก (Burn) ปากด้วยลิ้นอาหารหรือของเหลว (Liquid) ร้อนจัด ประสาทสัมผัสรสชาติจองเราก็จะเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว (Markedly)

เราเรียก “รสชาติ” ว่าเป็นประสาทสัมผัสทางเคมี เพราะสิ่งกระตุ้น (Stimulus) คือสารเคมีหลากหลายชนิด บนพื้นผิวของลิ้นคือหน่วยรับความรู้สึก (Receptor) เรียกว่า “ตุ่มรับรส” (Taste bud) สำหรับ 4 รสชาติพื้นฐาน อันได้แก่ หวาน เค็ม เปรี้ยว และขม

หน้าที่ของตุ่มรับรสคือการถ่ายโอนความรู้สึก (Transduction) หรือแปลงโฉม (Transform) ปฏิกิริยาทางเคมี ให้กลายเป็นสิ่งเร้าประสาท (Nerve impulse)

ลองจินตนาการการกัด (Bite) และเคี้ยว (Chew) มะนาวสักชิ้น แล้วเราจะอธิบายได้ว่า ลิ้นของเรารับรู้รสชาติอย่างไร? เริ่มต้นจาการดูด (Suck) มะนาวและลิ้มรสความเปรี้ยว ซึ่งเป็น 1 ใน 4 รสชาติพื้นฐาน ในบางอาณาบริเวณของลิ้น จะสนองตอบมากสุดต่อแต่ละรสชาติ ส่วนที่ซ้อนกันอยู่ (Overlap) จะส่งผลให้เกิดการผสมกัน (Combination) อาทิ หวาน-เค็ม (Sweet-salty)

เหตุผลที่บางคนมีรสนิยมของความหวาน มาจากความจริงที่ว่า เราได้รับมรดกตกทอด (Inherit) มาจากบรรพบุรุษในเรื่องชอบความหวาน-เค็ม มาตั้งแต่กำเนิด (Innate) เช่นเดียวกับสัตว์ส่วนมาก มนุษย์เราหลีกเลี่ยงสาร (Substance) ที่มีรสขม อาจเพราะสารที่เป็นพิษ (Poisonous) จำนวนไม่น้อยที่มีรสขม ใครที่ชอบความเปรี้ยวของมะนาว มักเรียนรู้ที่จะชอบสารที่มีรสขม

อันที่จริง รสชาติเริ่มต้นในแอ่ง (Trench) บนพื้นผิวของลิ้น เมื่อเราเคี้ยวมะนาว สารเคมีของมัน ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้น (Stimulus) รสชาติ ก็จะแตกกระจาย (Break down) เป็นโมเลกุล (Molecule) แล้วโมเลกุลนี้ ก็จะผสมกับน้ำลาย (Saliva) และวิ่งไปตามแอ่งแคบๆ บนพื้นผิวของลิ้น เมื่ออยู่ภายในแอ่งแล้ว โมเลกุลก็จะกระตุ้นตุ่มรับรส

ตุ่มรับรส ซึ่งมีลักษณะคล้ายหลอดไฟ (Bulb-like) จำนวนนับร้อยๆ ฝังอยู่ในแอ่งบนพื้นผิวของลิ้น มันมีรูปร่างคล้ายหัวหอม (Onion) ขนาดจิ๋ว (Miniature) เป็นหน่วยรับรสชาติ (Receptor) สารเคมีที่ละลาย (Dissolve) ในน้ำลายกระตุ้น (Activate) ตุ่มรับรส ซึ่งผลิตสิ่งเร้าประสาท ที่เข้าถึงอาณาบริเวณกลีบขม่อมหรือกะโหลก (Parietal lobe) ของสมอง แล้วสมองก็จะแปลงโฉม (Transform) สิ่งเร้าประสาทเหล่านี้ให้เป็นประสาทสัมผัส (Sensation) ของรสชาติ

ตุ่มรับรส อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างเป็นพิษ (Toxic) และได้รับ (Exposed) ความร้อน ความเย็น ความเผ็ด (Spice) แบคทีเรียและน้ำลาย ส่งผลให้ตุ่มรับรสเสื่อมสภาพ (Wear out) และถูกทดแทนทุกๆ 10 วัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. The Chemical Senses https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK10864/ [2017, July 01].