จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 115: การทำงานของหู (5)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-115

อาการเมาขณะเคลื่อนไหว (Motion sickness) ประกอบด้วยความรู้สึกอึดอัด (Discomfort) คลื่นเหียน (Nausea) และวิงเวียนศีรษะ (Dizziness) ในพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่ (Moving vehicle) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเกิดความรู้สึกขัดแย้ง (Sensory mismatch) ระหว่างข้อมูลจากระบบโพรงหน้า (Vestibular system) ที่ศีรษะของเราหันไปรอบๆ (Bounce around) กับข้อมูลที่รายงานโดยระบบการมองเห็น (Visual system) วัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไป อันดูเหมือนค่อนข้างจะคงที่ (Fairly steady)

ทารก (Infant) ที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ มักไม่ค่อยมีอาการเมาขณะเคลื่อนไหว แต่มี “ภูมิไวรับ” (Susceptibility) เพิ่มขึ้นในอาการดังกล่าวตั้งแต่อายุ 2 ขวบถึง 12 ปี หลัง 12 ปีแล้ว ภูมิไวรับของอาการดังกล่าวจะลดลงทั้งในผู้ชายและผู้หญิง นักวิจัยสงสัยว่า พันธุกรรม (Genetic) กำหนดภูมิไวรับอาการเมาขณะเคลื่อนไหว มากกว่าปัจจัยบุคลิกภาพ (Personality factors)

กลุ่มนักบิน (Flier) รายงานผลอย่างมีนัยสำคัญถึงการลดอาการเมาขณะเคลื่อนไหวหลังสิ้นสุดโปรแกรมฝึกอบรมพฤติกรรม (Behavioral training) ที่สอนให้พวกเขาสนองตอบด้วยการผ่อนคลาย (Relaxation response) คิดในเชิงบวก (Positive thinking) หรือใช้ภาพสงบนิ่ง (Calming image) ทันทีที่เริ่มเห็นสัญญาณของอาการเมาขณะเคลื่อนไหว

จากจำนวนนักบิน 35 คนที่ต้องเลิกบิน เนื่องจากมีอาการเมาขณะเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงและเรื้อรัง (Chronic) การวิจัยพบว่า 49 คน สามารถเอาชนะ (Overcome) ปัญหานี้ได้ และเริ่มต้นบินอีกครั้ง หลังโปรแกรมฝึกอบรมดังกล่าว และในทางปฏิบัติ ก็มียาจำนวนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้

การทำงานที่ผิดปรกติ (Mal-functioning) ของระบบโพรงหน้า ก็อาจเป็นสาเหตุของอาการที่เลวร้าย (Terrible) นี้ ลองจินตนาการว่า (1) ได้ยินเสียงซู่ซ่าของน้ำตกในหู (2) เดินเข้าไปในห้องน้ำที่พบชักโครกหมุน (Spin) อย่างผิดปรกติ (Out of range) หรือ (3) อาเจียน (Vomit) มากกว่า 30 ครั้งในวันเดียวกัน

อาการเหล่านี้สะท้อนถึงโรคน่าหวาดกลัว (Dread) ของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s) ซึ่งรวมถึงวิงเวียนศีรษะกะทันหัน (Sudden attack) อาเจียน หัวหมุน และเสียงเหมือนผึ้งร้องหึ่ง (Buzz) จนหัวแทบแตกสลาย (Head-splitting) ชาวอเมริกันประมาณ 7 ล้านคนที่ทนทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส (Viral infection) ณ หูชั้นใน (Inner ear)

นอกจากนี้ ระบบโพรงหน้ายังเกี่ยวข้องกับอาการหัวหมุน (Vertigo) อันได้แก่ วิงเวียนศีรษะและคลื่นเหียน ที่อาจทำให้หกล้มในห้องน้ำ จนศีรษะกระแทกด้านข้างของอ่างอาบน้ำ (Bathtub) ทั้ง 2 โรคนี้ เป็นผลมาจากการทำงานผิดปรกติของท่อกึ่งวงกลม (Semi-circular canal) ของระบบโพรงหน้า และยังไม่มีใครทราบถึงวิธีการรักษา (No known cure) ให้หายขาด

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Ear https://en.wikipedia.org/wiki/Ear [2017, June 23].