จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 114: การทำงานของหู (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-114

เราสามารถบอกได้อย่างง่ายดายระหว่างการตะโกน (Yell) กับการกระซิบ (Whisper) เพราะระบบการได้ยิน (Auditory system) แปลงโฉม (Transform) ความเข้มข้น (Intensity) ของคลื่นเสียงเป็นประสบการณ์ความรู้สึก (Subjective experience) ของการตะโกนเสียงดัง (Loud) หรือ การกระซิบเสียงค่อย (Soft)

การแปลงโฉมนี้เกิดขึ้นภายในโสตประสาท (Cochlea) เมื่อเปรียบเทียบกับการตะโกน การกระซิบก่อให้เกิด (Produce) คลื่นเสียงที่มี “ช่วงห่าง” (Amplitude) ที่ต่ำ ซึ่งกระตุ้น (Set off) เหตุการณ์ที่มีปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain of events) ดังนี้

  1. การสั่นสะเทือน (Vibration) น้อยลงของเยื่อแก้วหู (Tympanic membrane)
  2. การเคลื่อนไหวของของเหลว (Fluid) ที่น้อยงลงในโสตประสาท (Cochlea)
  3. การเคลื่อนไหวที่น้อยลงของเนื้อเยื่อบาซิล่าร์ (Basilar)
  4. เซลล์ขนที่หักงอลง (Bent hair cell) น้อยลง
  5. พลังไฟฟ้า (Electrical cell) ที่ลดลง และ
  6. ในที่สุด ชีพจรประสาท (Nerve pulse) ที่น้อยลงเมื่อส่งถึงสมอง

ซึ่งแปรผล (Interpret) สัญญาณเหล่านี้เป็นเสียงที่ค่อยลง

สมองของเราคำนวณความดัง ส่วนมากจากความถี่ (Frequency) หรืออัตราความเร็วหรือความช้าที่ชีพจรประสาทมาถึงสมองจากประสาทการได้ยิน (Auditory nerve) ตัวอย่างเช่นสมองแปรผลอัตราที่ช้าลงของชีพจรเป็นเสียงระดับ (Tone) ต่ำ เหมือนเสียงกระซิบ และอัตราที่เร็วขึ้นเป็นระดับเสียงสูง เหมือนเสียงตะโกน

มี 2 โครงสร้าง (Structure) ภายในหูชั้นใน (Inner ear) กล่าวคือ โสตประสาท และระบบโพรงหน้า (Vestibular system) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเมาขณะเคลื่อนไหว (Motion sickness) ประสบการ์ที่เลวร้าย (Terrible) ในความทรงจำของเด็กบางซึ่งนั่งอยู่ ณ เบาะหลังของรถยนต์ที่เคลื่อนที่ หลังจาก 30 นาทีของถนนที่คดเคี้ยว (Curving road) ก็เริ่มออกอาการของเหงื่อแตก (Cold sweat) ตามด้วยคลื่นเหียน (Nausea) วิงเวียนศีรษะ (Dizziness) และความต้องการที่จะนอนลงนิ่งๆ (Stationary)

ประมาณ 25% ของชาวอเมริกัน ประสบสัญญาณ (Sign) ของอาการ (Symptom) เมาขณะเคลื่อนไหวในระดับปานกลาง (Moderate) จนถึงรุนแรง (Severe) อีก 55% ประสบปัญหาดังกล่าวในระดับอ่อน (Mild) ในขณะที่อีก 20% ที่เหลือ โชคดีมากที่แทบจะไม่มีอาการเมาเลย

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Ear https://en.wikipedia.org/wiki/Ear [2017, June 13].