จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 110: กายวิภาคของหู (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-110

กระดูกทั้ง 3 ชิ้นทำหน้าที่คล้ายชะแลงงัด (Lever) ที่ขยายแรงสั่นสะเทือน (Amplify vibration) อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ “ช่องรูปไข่” (Oval window) ที่ติดอยู่สั่นสะเทือนไปด้วย ดังนั้นหน้าที่ของหูชั้นกลางก็คือ รับ (Pick up) แรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากเยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) แล้วขยายแรงสั่นสะเทือน และส่งต่อไปยังช่องรูปไข่ อันเป็นจุดแสดง (Mark) การสิ้นสุดของหูชั้นกลาง (Middle ear) และการเริ่มต้นของหูชั้นใน (Inner ear)

หูชั้นในประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 2 ส่วนที่ปิด (Sealed) อยู่ในโพรงกระดูก (Bony cavity) กล่าวคือ (1) โสตประสาท (Cochlea) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการได้ยิน และ (2) ระบบโพรงหน้า (Vestibular) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาดุล (Balance)

โสตประสาท อยู่ในหูชั้นใน มีหูภายนอก (Exterior) ที่เป็นกระดูกขด (Bony coiled) คล้ายเปลือกหอยทาก (Snail’s shell) โสตประสาท มีตัวรับเสียง (Receptor) เพื่อ “ถ่ายโอน” (Transduction) หรือแปลงโฉม (Transform) แรงสั่นสะเทือนเข้าไปในชีพจรประสาท (Nerve impulse) ซึ่งส่งต่อไปยังสมองสำหรับการประมวล (Process) เป็นข้อมูลการได้ยิน

นักวิจัยเปรียบเทียบ (Liken) โสตประสาทเสมือนกล่องจิ๋วที่ประณีต (Exquisite miniature box) ซึ่งทำด้วยกระดูก และประกอบด้วยอัญมณีล้ำค่า (Precious jewel) ซึ่งในกรณีนี้เป็นเซลล์เล็กๆ ที่เป็นตัวรับเสียงสำหรับการได้ยิน

เราไม่เคยตั้งคำถามว่า “ศีรษะของเราอยู่ที่ไหน?” แม้ว่ามันอยู่ในตำแหน่ง (Position) ที่แตกต่างกันนับร้อยๆ ท่า ตลอดทั้งวัน เราไม่ค่อยจะลืมก้มหัว (Duck) เมื่อเข้าไปนั่งในรถยนต์ หรือลืมว่าเรากำลังยืนอยู่บนเท้าหรือมือกันแน่ นั่นเป็นเพราะตำแหน่งของศีรษะสามารถค้นหา (Track) ได้โดยอัตโนมัติ ด้วยความรู้สึกที่เรียกว่า “ระบบโพรงหน้า”

ระบบดังกล่าว อยู่เหนือโสตประสาทในหูชั้นใน ที่รวมท่อกึ่งวงกลม (Semi-circular canal) ซึ่งคล้าย (Resemble) กระดูกโค้ง (Bony arch) ณ มุม (Angle) ที่แตกต่างกัน แต่ละท่อกึ่งวงกลมเต็มไปด้วยของเหลว (Fluid) ที่ไหลไปตามการเคลื่อนไหวของศีรษะ

ภายในท่อดังกล่าวมีเซลล์ขน (Hair cell) เป็นเครื่องจับความรู้สึก (Sensor) ที่สนองตอบต่อการเคลื่อนไหวของของเหลว โดยหน้าที่ของระบบโพรงหน้ารวมถึงการล่วงรู้ (Sense) ตำแหน่งของศีรษะ การเชิดศีรษะขึ้น (Upright) และการทรงตัวของร่างกาย

ระบบโพรงหน้าใช้ข้อมูลของตำแหน่งศีรษะในการแสดงว่า เรากำลังยืนอยู่บนมือหรือเท้า นักกายกรรม (Gymnastic) ต้องอาศัยระบบโพรงหน้าในการรักษาดุลของร่างกาย บางครั้งการติดเชื้อ (Infection) ในหูชั้นใน มีผลกระทบต่อระบบโพรงหน้า และอาจส่งผลให้วิงเวียนศีรษะ (Dizziness) คลื่นไส้ (Nausea) และไม่สามารถทรงตัวได้

แหล่งข้อมูล:

  1. 1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. 2. Ear. https://en.wikipedia.org/wiki/Ear [2017, May 20].