จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 105: หูและการได้ยิน (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เมื่อผู้นำเชียร์ (Cheerleader) ตะโกนเสียงลั่น (Big yell) เธอกำลังปลดปล่อย (Let) อากาศออกจากปาก เพื่อให้มันถูกกดทับ (Compressed) สลับกับถูกขยับขยาย (Expanded) เข้าไปในคลื่นเดินทาง เรียกว่า “คลื่นเสียง” (Sound wave) ซึ่งเป็นแรงกระตุ้น (Stimulus) สำหรับการได้ยิน (Audition) มีลักษณะคล้าย (Resemble) ขนาดต่างๆ ของระลอก (Ripples) ในสระน้ำ (Pond) คลื่นเสียงเดินทางผ่านอวกาศ (Space) ด้วยความสูง (Height) และความเร็ว (Speed) ที่แตกต่างกัน (Varying)

ความสูงดังกล่าวเป็นระยะทางจากจุดต่ำสุด (Bottom) ไปยังจุดสูงสุด (Top) ของคลื่นเสียง เรียกว่า “ช่วงห่าง” (Amplitude) ส่วนความเร็ว เป็นจำนวนของคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เรียกว่า “ความถี่” (Frequency) เราจะเข้าใจแนวความคิดของ ช่วงห่างได้ง่ายขึ้น เมื่อเปรียบเทียบคลื่นเสียงของผู้นำเชียร์ที่ตะโกนลั่นกับเสียงกระซิบ (Whisper) ของเด็ก

เมื่อผู้นำเชียร์ตะโกนลั่น เธอกำลังปลดปล่อยปริมาณมหาศาล (Enormous) ของอากาศที่ถูกกดทับสลับกับถูกขยับขยายให้เข้าไปในคลื่นเดินทางขนาดใหญ่ (Large) คลื่นเสียงดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วย ช่วงห่างที่สูง ซึ่งสมองของเราจะแปรผล (Interpret) เป็นเสียงดัง (Loud)

เมื่อเด็กกระซิบข้างหูของเพื่อนเพื่อบอกความลับ (Secret) เขากำลังปลดปล่อยปริมาณเล็กน้อยของอากาศที่ถูกกดทับสลับกับถูกขยับขยายให้เข้าไปในคลื่นเดินทางขนาดเล็ก คลื่นเสียงดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยช่วงห่างที่ต่ำ ซึ่งสมองของเราจะแปรผลเป็นเสียงค่อย (Soft)

ตามปรกติ เราจะไม่มีปัญหาในการแยกแยะความแตกต่าง (Distinguish) ระหว่างเสียงตะโกนลั่นของผู้นำเชียร์ และเสียงกระซิบของเด็ก เนื่องจากระบบการได้ยิน (Auditory system) ของเราจะใช้ช่วงห่างของคลื่นเสียงในการคำนวณ “ความดัง” (Loudness) โดยอัตโนมัติ (Automatic) และนี่คือความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างช่วงห่างกับความดังของเสียง

อันที่จริง ความดังคือประสบการณ์ความรู้สึก (Subjective experience) ของความเข้มข้น (Intensity) ของเสียง สมองของเราจะคำนวณความดังจากพลังงานทางกายภาพจำเพาะ (Specific physical energy) ซึ่งก็คือช่วงห่างของคลื่นเสียงในกรณีนี้

การกระซิบ (ซึ่งส่งผลให้เกิดคลื่นเสียงที่มีช่วงห่างต่ำ) อยู่ ณ ตำแหน่งเหนือ “จุดเริ่มต้น” (Threshold) ของการได้ยิน เสียงดังที่สุดเท่าที่มีการบันทึก (On record) ซึ่งส่งผลให้เกิดคลื่นเสียงที่มีช่วงห่างสูง เป็นเสียงที่ได้ยินใกล้ลำโพง (Speaker) ในงานแสดงดนตรีแบบกึกก้องไปทั่ว (Rock concert)

ถ้าสมองของเราใช้ช่วงห่างในการคำนวณความดังแล้ว อะไรคือสิ่งที่มันใช้ในการคำนวณ “ระดับเสียง” (Pitch) ต่ำหรือสูง?

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson กLearning.
  2. Hearing - https://en.wikipedia.org/wiki/Hearing [2017, April 15].