จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 101: การเห็นสีสัน (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เด็บบร่า (Debra) เกิดมาพร้อมกับฝ้าขุ่นมัว (Opaque film) บนกระจกตา (Lens) หรือต้อกระจก (Cataract) ซึ่งเกือบทำให้เธอบอดสนิท ในช่วง 28 ปีแรกของชีวิตเธอ เธอสามารถแยกกลางคืนออกจากกลางวันได้ แต่เธอไม่เห็นอย่างอื่นเลย เมื่อมีการผ่าตัดวิธีใหม่ ที่ฟื้นฟู (Restore) การมองเห็นของเธอ เธอร้องลั่นด้วยความยินดี (Delight)

หลังการผ่าตัด เธอมองไปรอบๆ ห้องในโรงพยาบาล และเห็นสิ่งที่เคยได้แต่จินตนาการ (Imagined) “สีสัน (Color) คือสิ่งที่ทำให้ฉันแปลกใจมาก” เธอกล่าวว่า “มันสว่างไสวมาก ฉันไม่สามารถคิด (Conceive) ได้ว่ามันคือสีอะไร จนกระทั่งได้เห็นมัน ฉันไม่เคยจินตนาการว่า ลูกแอปเปิ้ลสีแดง จะเหมือนอะไร แต่ตอนนี้ฉันถือมันอยู่ในมือ และเห็นว่าเป็นสีแดงจริงๆ”

เช่นเดียวกับเด็บบร่า คนเราอาจทึกทักเอาเอง (Assume) ว่าแอปเปิ้ลสีแดง ต้องมีสีแดงจริงๆ แต่อันที่จริง นานาวัตถุ อาทิ แอปเปิ้ล นั้น ไม่มีสีสัน เพียงแต่วัตถุสะท้อนคลื่นแสง ซึ่งช่วงของคลื่น (Wavelength) ได้รับการ “แปลงโฉม” (Transform) จากระบบการเห็น (Visual system) เป็นประสบการณ์ที่มองเห็นเป็นสีสัน ดังนั้น สีแดงของแอปเปิ้ล จริงๆ แล้วคือ คลื่นแสง

วิธีการที่คลื่นแสง ได้รับการ “แปลงโฉม” ให้กลายเป็นสีสันนับล้านๆ สี เป็นกระบวนการอัศจรรย์ (Wondrous) ที่น่าสนใจยิ่ง โดยเริ่มต้นจากแสงจากดวงอาทิตย์ (Ray of sunlight) ซึ่งมีสีขาว แสงนี้ประกอบด้วยคลื่นแสงทั้งหมดในความถี่ที่มองเห็นได้ (Visible spectrum) อันเป็นสิ่งที่สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้

เมื่อแสงสีขาวผ่านแก้วแถบสี (Prism) มันจะถูกแยกออกเป็นคลื่นแสงที่แปรเปลี่ยน (Vary) ไปตามช่วงของคลื่น ธรรมชาติเองได้สร้างแก้วแถบสีในรูปแบบของหยดน้ำฝน (Drain drop) ซึ่งแยกแสงอาทิตย์ที่อ่านเข้าไปในคลื่นแสง ณ ช่วงของคลื่นต่างๆ กัน จึงเกิดเป็นคลื่นความถี่ของสีที่เราเรียกกันว่า “รุ้งกินน้ำ” (Rainbow)

ระบบการเห็นของเรา “แปลงโฉม” คลื่นแสงที่ช่วงหลากหลาย เป็นสีสันนับล้านๆ อนุภาค หน่วยวัดของอนุภาคสี คือ นาโนเมตร (Nanometer : nm) อาทิ 400 ถึง 700 nm เราเห็นช่วงของคลื่นสั้น เป็นร่มสี (Shade) ม่วง (Violet) ฟ้า และเขียว ส่วนช่วงของคลื่นยาว เป็นร่มสี เหลือง ส้ม และแดง

ดังนั้น เราเห็นแอปเปิ้ลเป็นสีแดง ก็เพราะมันสะท้อนคลื่นแสงที่ช่วงยาวกว่า ซึ่งสมองของเราจะแปลผล (Interpret) เป็นสีแดง อันที่จริง ระบบการเห็นของเรา “แปลงโฉม” คลื่นแสงเป็นสีนั้น สามารถอธิบายได้ด้วย 2 ทฤษฎีที่แตกต่างกัน การอธิบายว่า เราเห็นสีสันที่หลากหลายบนใบหน้าของชาวอินเดียนแดง เริ่มขึ้นกว่า 200 ปีที่แล้ว ด้วยผลงานของนักเคมีชาวอเมริกัน ชื่อจอห์น ยัง (John Young) งานวิจัยของเขาวางรากฐานของทฤษฎีแม่สีหลัก (Trichromatic)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Color vision - https://en.wikipedia.org/wiki/Color_vision [2016, March 18].