จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 98: ความทรงจำของสักขีพยาน (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

คำให้การของสักขีพยาน (Eyewitness testimony) หมายถึงความสามารถในการจดจำข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติการณ์ (Incident) ที่ได้ประสบ ในโลกของ “ชีวิตจริง” (Real life) ความทรงจำของสักขีพยานก่อร่างเป็นพื้นฐาน¬ของคดีความ (Legal cases) เป็นจำนวนไม่น้อย และมาตรการการทดลองของคำให้การสักขีพยาน มีแนวโน้มที่จะนำเสนอผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ด้วยอุบัติการณ์แสดง (Enact) “สด” (In the flesh) หรือ “แห้ง” (Video tape)

โดยทั่วไป การวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีความทรงจำที่ดีเท่าๆ กับผู้ใหญ่วัยต้น ในจุดหลัก (Main point) ของอุบัติการณ์ แต่มีการระลึกจุดย่อย (Minor point) ที่ด้อยกว่า อาทิ รายละเอียดของเสื้อผ้าอาภรณ์ของตัวเอกในท้องเรื่อง (Protagonist) ซึ่งมิได้เป็นลางสังหรณ์ (Bode) ที่ดีสำหรับความน่าเชื่อถือ (Credibility) ของผู้สูงอายุ ในฐานะสักขีพยาน

นักวิจัยได้ศึกษาคำตอบของผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่วัยต้น และเด็ก ต่อชุด (Series) ของคำถามเกี่ยวกับอาชญากรรมที่ได้ถ่ายทำเป็นวีดิทัศน์ (Video) ไว้ [เพื่อให้ผู้ชมเป็นสักขีพยาน] ผลปรากฏว่า ทั้งผู้สูงอายุและเด็กสนองตอบด้อยกว่าผู้ใหญ่วัยต้น ทั้งต่อคำถามลวง (Misleading) และคำถามไม่ลวง (Non-misleading)

นักวิจัยยังพบว่า ผู้สูงอายุอ่อนไหว (Susceptible) ต่อข้อมูลลวงที่อยู่รอบๆ ภาพ (Surrounding a vignette) ที่แสดง (Depict) ถึงการลักขโมย โดยรายงานข้อมูลเท็จ (Misinformation) ว่า เป็นความจริง และระดับความแน่ใจ (Certainty) ในข้อมูลเท็จว่าเป็นจริง ที่สูงกว่าผู้ใหญ่วัยต้น

ผลลัพธ์นี้สะท้อน (Echo) งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่า เมื่อผู้สูงอายุมีความเชื่อมั่น (Confidence) ในความทรงจำของตนเอง เขามีแนวโน้มที่จะให้คำแนะนำที่ผิดพลาด (Suggestibility error) ซึ่งกลับกัน (Reverse) กับผู้ใหญ่วัยต้นในการวิจัยที่เปรียบเทียบผลลัพธ์กัน (Analogous findings)

นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีแนวโน้ม (Prone) ที่จะเชื่อมั่นว่า การแปลผล (Interpretation) ของเหตุการณ์เป็นความทรงจำที่จริง (Actual) นี่หมายความว่า อาจมีอันตรายจากความทรงจำของเหตุการณ์ที่ถูกบิดเบือน (Distort) เพื่อให้สอดคล้องกับการแปรผลของผู้สูงอายุในเวลาต่อมา (Subsequently)

ดังนั้น ในองค์รวม (Overall) ภาพที่มองเห็นมีทัศนคติในเชิงลบ (Pessimistic) และอาจจะเชื่อมโยง (Plausibly linked) ไปถึงความเสื่อมถอยในการประมวล (Processing) ของสมองกลีบหน้า (Frontal lobe) ในผู้สูงอายุที่ไม่สามารถลบล้างหรือขัดขวาง (Suppress) ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง (Irrelevant) แต่ต้องเข้าใจว่า ผลกระทบนี้เป็นเพียงถัวเฉลี่ย มิใช่เกิดขึ้น (Applicable) กับผู้สูงอายุทุกๆ คน แต่บางส่วนก็อาจเกิดจากความบกพร่องในมุมมอง (Perceptual deficit) ถ้าปัจจัยเหล่านี้ถูกควบคุม (Controlled) อย่างน้อย ผลกระทบจากความแตกต่างในเรื่องอายุจะลดลง (Reduced) หรือถูกขจัดไป (Removed)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Eyewitness testimony - https://en.wikipedia.org/wiki/Eyewitness_testimony[2016, February 28].