จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 96: ความทรงจำระยะยาว (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักวิจัยจำนวนมากสังเกตเห็นปรากฏการณ์ (Phenomenon) ของความทรงจำเมื่อเร็ววัน (Recent) ที่ดำรงอยู่ยาวนานกว่าความทรงจำที่ห่างไกล (Remote) แต่เป็นข้อสังเกตที่ขัดแย้ง (Contradict) กับข้อสมมุติฐานของริบท (Ribot’s hypothesis) ซึ่งเป็นที่นิยม (Popular) ไม่น้อย

ข้อสมมุติฐานนี้ โต้แย้งว่า ในผู้สูงอายุ ความทรงจำในเหตุการณ์เร็ววัน สู้ความทรงจำที่ห่างไกลไม่ได้ โดยเปรียบเทียบ (Analogy) อย่างสมเหตุผลว่า สมองของคนเราเป็นถังน้ำ (Tank) ใหญ่และลึก ที่สามารถเก็บสะสม (Deposit) ความทรงจำในรูปแบบของหยดน้ำ (Droplet) ถังน้ำนี้ใช้เวลายาวนานในการเติมหยดน้ำให้เต็ม แต่เมื่อมันเต็มถัง หยดน้ำเริ่มไหลล้นขอบ แล้วสูญเสียไป (Lost)

น้ำล้น (Overflow) ดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะประกอบด้วย (Composed of) หยดน้ำที่เพิ่งเติมเข้าไป ซึ่งอยู่บนหรือใกล้พื้นผิว (Surface) ส่วนหยดน้ำที่เติมเข้าไปก่อนหน้านี้ มีแนวโน้มที่จะนอนอยู่ก้นถัง ไม่ถูกกระเทือน (Disturbed) ดังนั้น จึงไม่สูญเสียไป [ก่อนที่จะมีหยดน้ำใหม่เติมเข้าไป]

ในทำนองเดียวกัน (Similar manner) ข้อสมมุติฐานของริบท โต้เถียงว่า ความทรงจำที่เพิ่งสะสมเข้าไป มีแนวโน้มที่จะถูกแทนที่ (Displaced) ก่อน เพราะมันมิได้ถูกฝังอย่างลึกพอ (Sufficiently embed) อย่างไรก็ตาม ประจักษ์หลักฐานจากการทดลอง (Experimental evidence) แสดงว่า ความทรงจำที่ห่างไกล เป็นสิ่งที่จะสูญเสียไปก่อนความทรงจำในเร็ววัน

การทดสอบรายชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่ว (Famous names test : FNT) เป็นตัวอย่างที่ไม่พบบ่อยนัก (Rare) ในการทดสอบทางจิตวิทยา ซึ่งผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ทำคะแนนได้สูงกว่า (Outperform) ผู้เยาว์วัย การค้นพบนี้ แม้จะเป็นที่ยอมรับกัน (Acknowledged) แต่ก็มีปัญหาในการแปรผล (Interpretation) สิ่งที่ค้นพบให้ถูกต้องแม่นยำ

นักวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เยาว์วัยกว่า ประสบความลำบากใจ (Hard-pressed) ในการจดจำชื่อต้นๆ ที่อยู่ใน FNT ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930s เป็นต้นมา ยกเว้นบุคคลที่มีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์ (Historical figure) โดยเฉพาะผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีช่วงอายุ 20 ปี จะสามารถจดจำได้เพียง 25% ของแต่ละกลุ่มทศวรรษ ผู้เข้าร่วมการวิจัย สามารถแยกแยะชื่อที่เป็นเท็จ (False) ได้เกือบทั้งหมด ซึ่งแสดงว่า เขามิได้เดา (Guess) [ในการตอบแบบสอบถาม]

อย่างไรก็ตาม ความทรงจำที่อยู่ห่างไกลอาจถูกปนเปื้อน (Contaminated) ด้วยการระลึกได้ (Recollection) จากคลัง (Store) ของความรู้ทั่วไป (General knowledge) ตัวอย่างเช่น ชื่อในความทรงจำที่อยู่ห่างไกล อาจได้รับการกล่าวขานในสื่อ (Media coverage) มากกว่าชื่อในความทรงจำเมื่อเร็ววัน แต่บรรดาชื่อยอดนิยม (Popular) จากสื่อเดียวกันที่ออกอากาศด้วยความถี่ (Frequently aired) ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็น่าจะมีผลกระทบต่อผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ไม่แตกต่างกันระหว่างผู้สูงวัยกับผู้เยาว์วัย

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. How Age Affects Long-Term Memory - http://study.com/academy/lesson/how-age-affects-long-term-memory.html[2016, February 14].