จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 94: ความทรงจำระยะสั้น (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

งานที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory : STM) อาทิ ช่วงเวลาของการจำย้อนหลัง (Backward span) และกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของความทรงจำปฏิบัติงาน (Worming memory) แสดงประจักษ์หลักฐานที่มีน้ำหนัก (Compelling) ของการเสื่อมถอยในความทรงจำที่สัมพันธ์กับอายุ อย่างไรก็ตาม มีคำเตือน (Caveat) ต่อการค้นพบนี้

นักวิจัยบางคนใช้ความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาของการจำไปข้างหน้า (Forward span) กับการจำย้อนหลัง เป็นเกณฑ์ Benchmark) ในการวัด (Gauge) ความเสื่อมถอยตามสังขารณ์ นักวิจัยยังพบว่าผู้สูงอายุอาจถอดรหัส (Encode) ข้อมูลใน STM โดยใช้กลยุทธ์ (Strategy) ที่ด้อยประสิทธิภาพ ในกระบวนการความทรงจำ (Memory process) ที่เรียกว่า “การแตกเป็นกลุ่ม” (Chunking)

ในกรณีที่บัญชีรายชื่อซึ่งควรจดจำ (To be remembered : TBR) มีมากกว่า 4 รายการ กลยุทธ์ที่ดีกว่าในการจดจำ คือการแตกเป็นกลุ่ม 3 – 4 คำ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพยายามจดจำหมายเลข 385172986142 ให้จดจำโดยการแตกเป็นชิ้นส่วนดังนี้ 3851 7298 6142 ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันในการนำเสนอหมายเลขบัตรเครดิตและโทรศัพท์

นักวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มน้อยกว่าผู้เยาว์วัยในการแตกหมายเลข (Digit) ออกเป็นกลุ่ม เมื่อพยายามถอดรหัสข้อมูลและไม่ได้ประมวลข้อมูล TBR ที่ “ลึก” เพียงพอ [กล่าวคือ ไม่ได้จัดแจง (Arrange) รายการใน TBR] ดังนั้นหากปราศจากการกระตุ้น (Prompting) ผู้สูงอายุก็จะไม่ใส่ใจเลย

นอกจากนี้ เมื่อได้รับมอบหมายงานที่ต้องอาศัยความทรงจำปฏิบัติงาน อาทิ รายการใน TBR ควบคู่ (Tandem) ไปกับงานอื่นที่ต้องอาศัยความเข้าใจ (Comprehension) ผู้สูงอายุมักเปลี่ยนกลยุทธ์ (Strategy) ไปให้ความสำคัญกับงานหลังมากกว่างานแรก อาทิ การเดินและทรงตัว (Balance) จะได้รับการใส่ใจมากการแก้ปัญหาในใจที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน (Concurrent)

นักวิจัยยังพบว่า ความทรงจำปฏิบัติงานของผู้สูงอายุ สามารถปรับปรุงได้ผ่านการฝึกอบรมด้วยวิธีการกำหนดตำแหน่ง (Loci) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจดจำภาพในใจ (Mental picture) จำนวนมาก ของนานฉากที่คุ้นเคย (Scene) อาทิ ห้องต่างๆ ภายในบ้าน แต่ละรายการใน TBR จะถูกวางไว้ในฉาก แล้วให้ผู้สูงอายุระลึก (Recall) สิ่งที่เก็บไว้ (Store) ในแต่ละภาพ

สมมุติว่า 15794 เป็นรายการใน TBR แล้วให้ผู้สูงอายุเริ่มเดินทางในจินตนาการ (Imaginary journey) ก่อนเข้าบ้าน อาจกำหนดเลข 1 ไว้บนตู้รับจดหมายและเลข 5 ในที่วางร่ม เมื่อเข้าสู่ห้องนั่งเล่น อาจกำหนดเลข 7 ให้นั่งอยู่บนโซฟา เลข 9 กำลังดื่มน้ำอยู่ในห้องถัดไป แล้วเดินเข้าไปในครัว เห็นเลข 4 กำลังปอกเปลือกมันเทศ จุดประสงค์คือการทำให้แต่ละภาพชัดเจน (Vivid image) เพื่อช่วยเพิ่มความทรงจำ นักวิจัยยังพบว่า (1) อาจประยุกต์ใช้กับถนนหนทางที่คุ้นเคย แทนบ้าน และ (2) ผู้เยาว์วัยก็ได้ประโยชน์จากวิธีการนี้ ไม่น้อยไปกว่าผู้สูงอายุ

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Short-Term Memory - http://www.brainhq.com/brain-resources/memory/types-of-memory/short-term-memory[2016, January 31].