จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 91: ชราภาพกับความทรงจำ (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

วิธีหนึ่งของการทดสอบความทรงจำอย่างชัดแจ้ง (Explicit) ก็คือการให้ผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ได้เห็น (Exposed) รายชื่อของคำ (Word) แล้วให้คะแนนความทรงจำในคำเหล่านั้น เท่าที่สายตามองเห็นก่อน

ในเวลาต่อมา ทำการทดสอบความทรงจำโดยปริยาย (Implicit) โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับมอบหมายให้เติมคำให้สมบูรณ์ (Word completion) ด้วยการบอกใบ้อักษร 2 – 3 ตัวแรกให้ อาทิ คำว่า FOR _ _ _ ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีแนวโน้มที่จะเติมคำจากรายชื่อก่อนหน้านี้ อาทิ FOREST หรือ FORGET

ในกรณี (Instance) อื่น ความทรงจำโดยปริยาย อาจหมายถึงการสรุป (Inference) จากความทรงจำ ที่ไม่ได้เก็บไว้อย่างชัดเจน (Explicitly stored)

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ความทรงจำที่ต้องอาศัยทักษะการวางแผน (Planning)และการกำกับ (Overseeing) อาทิ ความทรงจำเพื่อกระทำอะไรบางอย่างในอนาคต (Prospective memory) ซึ่งโดยแนวความคิดนี้ สัมพันธ์กับ (Conceptually related to) ความรู้เกี่ยวกับความทรงจำของตนเอง (Meta-memory) ในมุมมองของขีดความสามารถในการจดจำ วิธีดีที่สุดที่จะจะจดจำสิ่งของ เป็นต้น

ระบบความทรงจำ ยังได้รับการพิจารณาในมิติของวิธีการทำงาน ตัวอย่างเช่น วิธีที่ความทรงจำถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการเก็บ (Storage) ที่เรียกว่า “บันทึกข้อมูล” (Encoding) และวิธีที่จะดึงข้อมูล (Retrieve) จากความทรงจำมาใช้งาน มีการถกเถียงกันมากมาย (Considerable debate) ภายในสาขาวิชาจิตวิทยาว่า ความทรงจำสูญหายไประหว่างการบันทึกข้อมูลที่ไร้ประสิทธิภาพหรือไม่? หรือการดึงข้อมูลมาใช้ ที่ไร้ประสิทธิภาพหรือไม่?

ข้อสมมุติฐานในเรื่องการบันทึกข้อมูลที่ไร้ประสิทธิภาพ สามารถเปรียบเทียบกับห้องสมุด (Library) ที่บรรณารักษ์ไร้ประสิทธิภาพนำหนังสือไปวางไว้ผิดหิ้ง ทำให้ค้นหาไม่พบหนังสือ ณ หิ้งที่ถูกที่ควร (Rightful place) ในทำนองเดียวกัน ความทรงจำที่ได้รับการบันทึกอย่างไร้ประสิทธิภาพจะสูญหาย เพราะไม่สามารถดึงข้อมูลมาใช้

อย่างไรก็ตาม แม้จะถูกเก็บไว้ในที่เหมาะสม (Properly) แต่ถ้าค้นหาข้อมูลไม่พบ ก็เท่ากับความทรงจำนั้นสูญหายไป เมื่อเปรียบเทียบ (Analogy) กับกรณีห้องสมุด ก็เหมือนกับส่งคนที่มีบกพร่องในการอ่านอย่างรุนแรง (Severe dyslexia) ไปหาหนังสือดังกล่าว ประเด็นนี้จะทวีความสำคัญเมื่อพิจารณาถึงความทรงจำของผู้เป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia)

การทดสอบความทรงจำ สามารถทำได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างสามัญที่สุด (Commonest) คือความแตกต่างระหว่างคำว่า “ระลึกได้” (Recall) กับคำว่า “จำได้” (Recognition) คำแรกต้องอาศัยผู้เข้าร่วมการวิจัย พยายามนึกถึงรายการต่างๆ ที่ควรจะจำได้ (To-be-remembered : TBR) ให้มากที่สุด

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Memory and aging - https://en.wikipedia.org/wiki/Memory_and_aging[2016, January 10].