จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 87: บทสรุปเชาว์ปัญญา (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

แต่ไหนแต่ไรมา (Traditionally) ผู้สูงอายุดำรงรักษา (Retain) ทักษะที่ตกผลึกแล้ว (Crystallized skill) และเพิ่มพูนปัญญา (Wisdom) ในขณะที่ยังคงแสดงเชาว์ปัญญาไหล (Fluid intelligence) อยู่ งานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนข้อสรุปนี้ แต่ในระดับที่สัมพันธ์ในแนวกว้าง (Relatively broad)

อนึ่ง (Inter alia) ขนาดของความแตกต่าง บางส่วนเป็น “สิ่งประดิษฐ์” (Artifact) ของวิธีการทดลองและการวิเคราะห์ที่ใช้ และบางส่วนของการอนุรักษ์ (Preservation) ของเชาว์ปัญญาผลึก ซึ่งขึ้นนอยู่กับการทดสอบที่มิได้กำหนดเวลา และ / หรือ กระทำอย่างเข้มงวด (Rigorous) ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ ผลกระทบจะมีมาก (Considerable)

อย่างไรก็ตาม ในทุกกรณีที่อ้างถึง ผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort) มักกล่าวอ้างเกินความจริง การศึกษาข้ามช่วงเวลา (Longitudinal) จะบรรเทาผลกระทบของความแตกต่างตามอายุ แต่ก็เป็นการทดสอบที่มีข้อผิดพลาด (Error-ridden) ค่อนข้างแพง และใช้เวลามาก (Time consuming) อย่างเห็นได้ชัด

ยังมีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า ในผู้สูงอายุ การเสื่อมถอยฉับพลันในเชาว์ปัญญา เป็นลางสังหรณ์ (Harbinger) ของความตาย นักวิจัยนำเสนอ (Proposed) แบบจำลอง (Model) ที่หลากหลายของการเปลี่ยนแปลงในอายุ รวมทั้ง

(1) ทฤษฎีไม่ใช้ (Disuse theory) กล่าวคือ ทักษะเสื่อมถอยเพราะมันไม่ได้รับการฝึกปรือหรือใช้สอยอย่างเพียงพอ และ

(2) ข้อสมมุติฐานของการชะลอลงโดยทั่วไป กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสื่อนำเส้นประสาท (Neural conduction) ที่ดำเนินไปอย่างช้าลง

กรณีแรก มีความสมเหตุผลอยู่ (Validity) โดยเฉพาะในประเด็นของการชดเชย (Compensation) แต่ยากที่จะอธิบายว่า ทำไมผู้สูงอายุบางคนที่หมั่นฝึกปรือทักษะยังคงแสดงออกซึ่งทักษะที่เสื่อมถอย? ส่วนกรณีหลังได้รับการสนับสนุนด้วยประจักษ์หลักฐานที่น่าทึ่ง (Intriguing) แต่ก็มีอย่างน้อยความแปรปรวน (Variability) ในทักษะที่ไม่สามารถจะอธิบายได้

การเสื่อมถอยในทักษะเฉพาะของเชาว์ปัญญา อาทิ สมาธิ (Attention) การจัดระเบียบแนวความคิด (Conceptual organization) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และผลการทำงานของเปียเจต์ (Piagetian task performance) ได้มีการบันทึกไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร (Well-documented)

อย่างไรก็ตาม ในทุกกรณี (Instance) ผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort) หรือการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต (Life-style) อาจเปลี่ยนรูปผลลัพธ์ (Color the results) โดยทั่วไป อาจดูเหมือน (Appear) จะยาก หรือเป็นไปไม่ได้ ที่จะกำหนดว่า การเปลี่ยนแปลงของชราภาพมีมากน้อยเพียงใดที่เกิดจากผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน แทนที่จะเป็นผลกระทบที่แท้จริง (Pure) จากอายุที่สูงขึ้น?

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Intelligence and the Older Adult - http://community.advanceweb.com/blogs/ltc_2/archive/2012/06/25/intelligence-and-the-older-adult.aspx [2016, December 13].