จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 85: บทสรุปเชาว์ปัญญา (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ยังมีความหลงเชื่อของชาวกรุง (Urban myth) ที่กล่าวว่า แบบจำลองการคำนวณ (Mathematical model) ที่ดีที่สุดของนักวิทยาศาสตร์ แสดงว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผึ้งลวง (Bumblebee) จะสามารถบินได้ [อาจเป็นเพราะผึ้งหลวงมีตัวใหญ่และน้ำหนักมาก] เรื่องนี้มักใช้เป็นตัวอย่าง (Illustration) ที่ท้าทายว่า “นักวิทยาศาสตร์รู้อะไร?”

ความหลงเชื่อนี้แสดงถึงอคติที่น่าใส่ใจ (Cherished prejudice) ต้นกำเนิด (Origin) ของความเข้าใจผิดเล็กน้อย (Nugget of misunderstanding) นี้ไม่แน่ชัด แต่พอจะเป็นไปได้ (Plausible) ว่า เกิดจากข้อจำกัดของวิธี (Technique) การคำนวณ อันที่จริง เราสามารถตอบคำถามว่า ผึ้งหลวงบินได้หรือไม่? โดยเพียงการสังเกต (Observation) จากชีวิตจริง (Real life)

นี่เป็นตัวอย่างของการทดสอบอย่างเข้มข้น (Acid test) ของวิทยาศาสตร์และสังคมศาสต์ที่จำลองสิ่งที่คล้ายคลึง (Resemble) รอบๆ ตัวเรา ในกรณีของชราภาพกับเชาว์ปัญญา (Intellect) มีการค้นพบมากมายที่ไม่ขัดแย้งกัน (Dispute) โดยทั่วไป อาทิ การค้นพบว่า ผู้สูงอายุโดยรวม มีระดับเชาว์ปัญญาที่ต่ำลง เนื่องจากผลกระทบต่อสุขภาพของการออกกำลังกายและกำลังจิต

ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มอ้าง (Claim) ถึงขนาด (Size) ของการเปลี่ยนแปลง อาทิ สัดส่วน (Proportion) ที่ค่อนข้างสูงของการศึกษาในห้องทดลอง (Laboratory) อ้างว่า การเสื่อมถอยในเชาว์ปัญญาลดลงมากในผู้สูงอายุ จนต่ำกว่า ระดับเชาว์ปัญญาของผู้ใหญ่วัยต้นที่ด้อยปัญญา (Intellectual disability) อันนำซึ่งความเป็นไปได้ 3 ประการ

ประการแรก แบบจำลองและการสังเกตอาจผิดพลาด ซึ่งดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ (Improbable) เนื่องจากมีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) มากมายว่า การเสื่อมถอยในการทดสอบเป็นเรื่องจริง

ประการที่ 2 การเปลี่ยนแปลงในอายุอาจกล่าวเกินความจริง (Exaggerated) โดยการคำนวณในปัจจุบัน โดยเฉพาะการประเมินผลใหม่ (Re-evaluation) เมื่อไม่นานมานี้ของข้อมูลข้ามช่วงเวลา (Longitudinal) แต่ก็มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ไม่เพียงแต่ในเงื่อนไขของห้องทดลอง (Laboratory condition) เท่านั้น

และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงมากขนาด (Magnitude) นี้ แล้วผู้สูงอายุมิได้แสดงออกอย่างเห็นเด่นชัด ก็อาจเป็นไปได้ว่ามีสิ่งชดเชย (Compensation) ซึ่งแสดงบทบาทที่มากกว่าในชีวิตจริง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (Hitherto) และการเสื่อมถอยยิ่งลดลงตามที่แสดงออก (Demonstrate) ในห้องทดลอง ผลกระทบของสิ่งชดเชยยิ่งมีมากขึ้นในชีวิตจริง

เพื่อหลีกเลี่ยงปริศนา (Conundrum) ของข้อโตแย้งในประการที่ 2 ความเป็นไปได้ของประการที่ 3 ก็คือแบบจำลองที่สามารถวัดผลการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง (Genuine) แต่ก็มีประเด็นเรื่องทักษะที่จำกัดความเกี่ยวข้อง (Relevance) กับชีวิต

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Intelligence and the Older Adult - http://community.advanceweb.com/blogs/ltc_2/archive/2012/06/25/intelligence-and-the-older-adult.aspx [2016, November 29].