จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 84: ความคิดลาบูวี-เวียฟ

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักวิจัยลาบูวี-เวียฟ (Labouvie-Vief) เชื่อในความคิด “หลังปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ” (Post-formal thought) ที่ว่า บางครั้ง โลกก็ปราศจากคำตอบที่ถูกต้อง หรือผิดจริง (Purely right or wrong) และผู้ใหญ่ต้องอาศัยประสบการณ์ก่อนหน้านั้นในการแก้ปัญหา โดยอาศัยเหตุผลและปรีชาฌาณ (Intuition) แทนตรรกะเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ ความคิดใหม่ของเธอ ยังรวมถึงความชื่นชมข้อโต้แย้ง (Argument) ข้อหักล้าง (Counter-argument) และข้อถกเถียง (Debate) และในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้คนมิได้ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล (Logical) เสมอไป การตัดสินใจสำคัญๆ บางครั้งมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของตรรกะเลย

แต่มีการพิจารณาเรื่องของอารมณ์ (Emotion) และอัตวิสัย [ความรู้สึกแห่งตน] (Subjective) ด้วย ดังนั้น “หลังปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ” (Post-formal thought) จึงเป็นความสามารถในการ “ชั่งน้ำหนัก” (Weigh up) ความสมดุล (Balance) ระหว่างตรรกะกับอัตวิสัย

อย่างไรก็ตาม แม้ความแตกต่างของปฏิบัติการ (Operational distinction) นี้ จะมีประโยชน์ [ที่ทำให้เกิดความเข้าใจ] แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน (Debatable) ว่าระหว่าง “ปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ” กับ “หลังปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ” ว่ามีความแตกต่างกันโดย “เนื้อใน” (Intrinsically) หรือไม่?

ข้อโต้แย้งที่เกิดจากแหล่งที่เป็นตรรกะกับแหล่งที่เป็นอัตวิสัย สามารถรวมกันได้อย่างมีเหตุผล โดยไม่ต้องเป็นความคิดใหม่ ดังนั้นนักวิพากษ์วิจารณ์ (Critic) จึงโต้แย้งว่า ความคิดของขั้นตอน “หลังปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ” อาจเป็นข้ออ้างของการเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุ (Age-related decline) ในการทำงานของเชาว์ปัญญา (Intellectual performance) แล้วตั้งชื่อความล้มเหลวเสียใหม่ (Relabeling failure) ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของกลยุทธ์ (Alternative strategy)

เป็นการยากที่จะแสดงให้เห็น (Justify) ถึงขั้นตอน “หลังปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ” เมื่อมีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า สัดส่วน (Proportion) ที่มีนัยสำคัญของผู้สูงอายุ เริ่มละทิ้งความคิด (Jettison) ในขั้นตอนต้นๆ (Early stages) ของพัฒนการของเปียเจต์ (Piaget) แต่ก็อาจเป็นไปได้มากกว่าที่ผู้สูงอายุบางคนสูญเสียทักษะ เนื่องจากมันไม่มีความสำคัญต่อชีวิตอีกต่อไป

สิ่งนี้เป็นการนำไปสู่คำถามคาใจ (Awkward question) สำหรับการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเชาว์ปัญญาในบั้นปลายของชีวิต การศึกษาหลายครั้งได้ตั้งข้อสมมุติฐานว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ทั้งผู้เยาว์วัยและผู้สูงอายุ ก็ใช้ทักษะทางจิต (Mental skill) เดียวกัน แม้จะด้วยประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน (Varying efficiency) อย่างไรก็ตาม ถ้าสัดส่วนที่มีนัยสำคัญของผู้สูงอายุ กำลังใช้ระบบตรรกะที่แตกต่างกัน แล้วการเปรียบเทียบ (Comparison) [ระหว่างวัย] เป็นสิ่งที่ยุติธรรม (Fair) ไหม? หรือมีความหมาย (Meaningful) หรือไม่?

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Conservation - https://en.wikipedia.org/wiki/Conservation_(psychology)[2016, November 15].