จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 80: ความคิดสร้างสรรค์ในผู้สูงวัย (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ผู้สร้างสรรค์มักบรรลุจุดสุดยอดของผลงาน (Creative output) ก่อนอายุ 40 ปี หลังจากนั้น จะเริ่มเสื่อมถอยเหมือนผู้คนส่วนใหญ่ จนถึงอายุช่วง 60 ปี แม้จะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงว่า ความคิดสร้างสรรค์ สามารถดำเนินต่อไปตลอดชั่วชีวิต แต่ก็เป็นที่สังเกต (Notable) ว่า มันขึ้นอยู่กับการมองตนเอง (Self-perception) มากกว่าการวัดผลอย่างเที่ยงตรง (Objective)

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบางท่านสามารถโต้แย้งอย่างรุนแรง (Spirited counter-attack) ในข้อสรุปนี้ ว่าไม่เป็นจริงเสมอไป (Universally true) โดยระบุ (Cite) ผลงาน “ชิ้นโบว์แดง” (Master-piece) จำนวนมากมาย (Numerous) ที่ถูกผลิตขึ้นในบั้นปลายของชีวิตผู้สร้างสรรค์ (Creator)

ตัวอย่างเช่น ทิเชี่ยน (Titian) นักเขียนภาพชาวอิตาเลี่ยนที่มีผลงานโด่งดังไปทั่ว ยังคงเขียนภาพต่อไปจนถึงอายุ 90 ปี ซึ่งนักวิพากษ์วิจารณ์ (Critic) ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ผลงานในบั้นปลายของชีวิตของเขา โดดเด่นเหนือกว่าผลงานในช่วงต้นของชีวิตของเขา แต่นักวิจัยก็สรุปว่าเป็นเหตุการณ์ยกเว้น (Exception) มากกว่า กล่าวคือ สำหรับผู้สร้างสรรค์ส่วนมาก ความสามารถจะเสื่อมถอยลงไปตามสัง¬¬ขารณ์ที่ร่วงโรย

ความเสื่อมถอยทางกายภาพ (Physical) และประสาทสัมผัส (Sensory) ของวัยชรา มีผลกระทบอย่างต่อผู้สร้างสรรค์ เพราะเหนือสิ่งอื่นใด เขาจำเป็นต้องเห็นโลกทัศน์ (View of the world) ที่ถูกต้อง แม่นยำ และแน่ชัด แต่ก็มีบางสาขา (Field) ของงานสังสรรค์ที่ต้องอาศัยความสมบุกสมบัน (de rigeur) ของร่างกาย

ตัวอย่างเช่น นักร้องอุปรากร (Opera singer) และนักเต้นระบำปลายเท้า (Ballet dancer) ไม่เคยบรรลุจุดสูงสุด (Peak) ในอาชีพในวัยชรา จึงมีนักเต้นระบำปลายอยู่ไม่กี่คนที่มีอายุเกิน 35 ปี แล้วยังคงแสดงบนเวที แต่ก็มีรายชื่อยาวเหยียดของนวัตกร (Innovator) ที่ประสบความสำเร็จ แม้จะด้อยความสามารถทางกายภาพ (Physical incapacity) ตัวอย่างเช่น บีโธเฟ่น (Beethoven) หูหนวก ในขณะที่รังสรรค์งานชิ้นสุดยอดในชีวิต

ความเสื่อมถอยของเชาว์ปัญญา อาจไม่จำเป็นต้องเกิดจากผลกระทบของชราภาพเสมอไป ความแตกต่างของอายุในความคิดสร้างสรรค์ มีอยู่จริงแม้จะเปรียบเทียบระดับเชาว์ปัญญาทั่วไป (General intelligence) แต่เชาว์ปัญญาก็มิได้เป็นดัชนีชี้วัด (Indicator) ที่ดีของความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สร้างสรรค์ส่วนใหญ่ คงต้องมีคำอธิบายอย่างอื่น

หนึ่งในความเป็นไปได้ของการอธิบายดังกล่าวก็คือ ผู้สร้างสรรค์ เป็นเหยื่อ (Victim) ของความสำเร็จของตนเอง ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ที่บรรลุความเป็นเลิศ (Pre-eminence) ในสาขาที่เขาเชี่ยวชาญ มีแนวโน้มที่จะได้รับการเลื่อนขั้น (Elevated) อย่างรวดเร็วให้เป็นหัวหน้าแผนกวิจัย ซึ่งในตำแหน่งนี้ เขาต้องผ่องถ่ายประสบการณ์ปฏิบัติการ (Hands-on experience) ของเขาไปให้นักวิจัยผู้ช่วย เพราะเขาต้องจมปลัก (Embroil) อยู่กับปริมาณมากมายของหน้าที่เชิงบริหาร (Administrative duty)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Creativity - http://groups.psych.northwestern.edu/waxman/conceptualorganization.pdf [2016, October 25].