จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 78: จากการจัดระเบียบสู่ความคิดสร้างสรรค์

จิตวิทยาผู้สูงวัย

นักวิจัยโต้แย้งว่า ผู้สูงอายุมีความผิดพลาดในการรวมกลุ่ม (Grouping error) มิใช่เนื่องจากความเสื่อมถอยของชราภาพ แต่เนื่องจากเขาลืมวิถีที่ถูกต้องที่ยอมรับกัน (Accepted) ของการรวมกลุ่มสิ่งของตามนิยามของแนวทางปฏิบัติในการศึกษา (Educational practice) แต่ยอมรับ (Adopt) วิธีการรวมกลุ่มตามธรรมชาติ (Natural)

วิธีการดังกล่าว มีความสัมพันธ์โดยบังเอิญ (Coincidentally related) กับระดับการศึกษา และเชาว์ปัญญา เพราะผู้ที่มีการศึกษาและเชาว์ปัญญาที่สูงกว่า มีแนวโน้ม (Tend) ที่จะเข้าสู่วงการวิชาชีพ (Professional) และมีกิจกรรมสันทนาการ (Leisure) ที่ต้องมีการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการ (Formal grouping) จึงดำรงวิธีการเหล่านี้ได้ยาวนานกว่าผู้อื่น

มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ (Critic) ว่าการศึกษาเรื่องรวมกลุ่มข้างต้น เป็นงาน (Task) การแยกประเภทอย่างง่าย (Gentle) แต่ในงานที่เพิ่มความยากขึ้น อาทิ การให้ผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ต้องโยกย้าย (Transfer) รายการ (Item) ระหว่างประเภท ก็มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ที่เห็นความเด่นชัด (Pronounced) ของความแตกต่างระหว่างวัย และยังมีประจักษ์หลักฐานว่า ความแตกต่างดังกล่าวเกิดจาก (Attributable to) การทำงาน (Functioning) ของกลีบสมองส่วนหน้า (Frontal lobe)

อย่างไรก็ตาม งานที่ยากขึ้น อาจต้องอาศัยกระบวนการรับรู้ (Cognitive) อย่างอื่น ซึ่งยังเป็นที่สงสัยกัน (Doubtful) ว่าเป็นการทดสอบทักษะประเภท (Genre) เดียวกันหรือไม่? แต่เป็นที่สังเกตแล้วว่า ความแตกต่างระหว่างวัยมีความเด่นชัด ถ้าผู้คนลองใช้วิธี (Technique) การแยกประเภทที่แตกต่างกัน

นักวิจัยได้สาธิต (Demonstrate) ให้เห็นว่า มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างผู้เยาว์วัยกับผู้สูงวัย เมื่อใช้วิธีที่เคยผ่านการทดลอง (Try) และทดสอบ (Test) [แต่ถ้าใช้วิธีใหม่ๆ ก็อาจไม่ได้ผลสรุปเดียวกัน]

สิ่งที่ทำงานคู่ขนาน (Tandem) ไปกับเชาว์ปัญญาทั่วไป (General intelligence) ก็คือความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) นักวิจัยยังแบ่งแยกกัน (Divided) ในความคิดของวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งจะอธิบายถึงทักษะนี้ แต่ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า ความคิดที่สร้างสรรค์ต้องมีความแปลกใหม่ (Novel) และเหมาะสมต่อสถานการณ์ (Appropriate to situation)

หนทางดีที่สุดที่จะแสดงความหมายนี้ ก็คือ การทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นแบบอย่าง (Typical) โดยผู้เข้าร่วมการทดสอบได้เห็นก้อนอิฐบ้าน (House brick) แล้วให้คิดถึงการใช้วัตถุดังกล่าวให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยมีการสนองตอบ (Response) 2 รูปแบบที่ได้รับการจัดประเภทว่า “ไม่สร้างสรรค์” (Uncreative)

รูปแบบแรกเป็นสิ่งที่เหมาะสมแต่ทำตามธรรมเนียมปฏิบัติ (Conventional) อาทิ ใช้ก้อนอิฐดังกล่าวในการสร้างบ้าน และรูปแบบที่ 2 คือการเป็นสิ่งที่แปลกใหม่แต่ไม่เหมาะสม อาทิ ใช้ก้อนอิฐทุบหัวคนที่นอนไม่หลับ (Insomnia) [เพื่อให้หลับไป]

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Conceptual organization - http://groups.psych.northwestern.edu/waxman/conceptualorganization.pdf [2016, October 11].

3. Creativity - http://groups.psych.northwestern.edu/waxman/conceptualorganization.pdf [2016, October 11].