จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 77: การจัดระเบียบแนวความคิด (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ความผิดพลาดของการแยกประเภท (Categorization error) โดยผู้สูงอายุ อาจมีคุณภาพ (Qualitatively) ที่แตกต่างกัน นักวิจัยพบว่า 42% ของตัวอย่าง (Sample) ของผู้เข้าร่วมการวิจัยสูงอายุที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล (Hospitalized) แต่มิได้มีความจำเสื่อม (Dementia) ใช้การรวมกลุ่มประโยค (Sentential grouping) ในการแยกแยะรายการที่อยู่ในประเภทเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุดังกล่าว อาจคิดว่า กระต่าย (Rabbit) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ (Animal) และแครอท (Carrot = หัวผักกาดสีส้ม) จัดอยู่ในประเภทผัก (Vegetable) แต่ในการรวมกลุ่มประโยคของผู้สูงอายุ อาจจัดกระต่ายและแครอท อยู่ในประเภทเดียวกัน [ด้วยความหลงผิด] เพราะทั้งสองสิ่งนี้ใช้วลี (Phrase) เดียวกัน กล่าวคือ กระต่ายกินแครอทเป็นอาหาร

แต่ดูเหมือนว่า นี่เป็นความล้มเหลวของการคิดในระดับนามธรรม (Abstract) เพราะการมองเห็นกระต่ายกับแครอทเพียงในระดับรูปธรรมมากกว่าในประเภทเชิงความหมาย (Semantic category) ดังนั้น เราอาจโต้แย้ง (Arguably) ปัญหาในทำนองเดียวกันที่ครอบงำ (Beset) ความเข้าใจในวลีของภาษาที่ไม่เป็นทางการ (Colloquial) อาทิใน คำพังเพย (Proverb)

ตามตัวอักษรที่ปรากฏ (Face value) คำกล่าว (Adage) ที่ว่า “ผู้คนไม่ควรขว้างปาก้อนหินในเรือนกระจก (Glass house)” [คำพังเพยของฝรั่ง] มิได้มีความหมาย (Imply) ว่าเป็นเพียงคำแนะนำ (Advice) แก่ผู้เป็นเจ้าของเรือนกระจกเท่านั้น แต่โดยสามัญสำนึก (Intuitively) ความรู้ในความหมายของคำพังเพย เป็นส่วนประกอบสำคัญ (Part and parcel) ของปัญญาผลึก (Crystallized intelligence) ซึ่งมิใช่เกิดจากความเสื่อมถอยของชราภาพ

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมักไม่สันทัดในการแปลความหมาย (Interpret) ของคำพังเพย ไม่ว่าผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) จะถูกปล่อยให้ตอบคำถามแบบอัตนัยตามลำพัง (Unaided) หรือเป็นการทดสอบแบบปรนัยที่ให้เลือกข้อ (Multiple choice)

ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) นักวิจัยพบว่า ผลทดสอบ (Performance) ของผู้เข้าร่วมการวิจัยเยาว์วัย ในงานที่ต้องสร้างแนวความคิด (Conceptual formation) ดีขึ้นในการทดสอบครั้งต่อๆ มา (Subsequent) ในขณะที่ผลการทดสอบของผู้สูงวัยกลับแย่ลง

ดังนั้น ความผิดพลาดในการจัดระเบียบแนวความคิด (Conceptual organization) อาจส่อให้เห็น (Indicative) ปัญหาที่มีรากลึก (Deep rooted) ในความคิดนามธรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้คนผิดพลาดในงานแยกประเภท เขามักผิดพลาดเนื่องจากการแยกประเภทที่ไม่ทำตาม (Conform) สิ่งที่ผู้ทดลอง (Experimenter) ต้องการเท่านั้น

แม้ว่าการรวมกลุ่มแครอทกับกระต่ายเป็นสิ่งที่สมเหตุผล (Sensible) แต่ในแนวความคิดที่กว้างขึ้น (Wider scheme) อาจไม่ใช่คำตอบที่สละสลวย (Elegant solution) มันเป็นเพียงสิ่งที่น่าขบขันมากกว่า (Amusing)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Conceptual organization - http://groups.psych.northwestern.edu/waxman/conceptualorganization.pdf [2016, October 4].